Publication: อิสตรีและมังกร: ไดโนเสาร์ ผู้หญิงใหม่ และความกังวล ว่าด้วยความเสื่อมทรามในนวนิยายเรื่อง The Lair of the White Worm ของแบรม สโตเกอร์
dc.contributor.author | มิ่ง ปัญหา | |
dc.contributor.author | Ming Panha | en |
dc.contributor.editor | กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ | |
dc.contributor.editor | Kornphanat Tungkeunkunt | en |
dc.coverage.temporal | 1800-1899 | |
dc.date.accessioned | 2023-12-16T09:19:44Z | |
dc.date.available | 2023-12-16T09:19:44Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.date.issuedBE | 2559 | |
dc.description.abstract | ความรุนแรงอันบังเกิดจากการมองแกนเวลาเป็นเส้นเดียวและตรงไปข้างหน้าในนวนิยายเรื่อง The Lair of the White Worm ของแบรม สโตเกอร์ นั้นเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านพญางูขาว ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ที่ยังมีชีวิต และเลดี้ อราเบลลา มาร์ช ตัวละครที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ “ผู้หญิงใหม่” ความรุนแรงนี้เองสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับควาเสื่อมทรามของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในสมัยวิกตอเรียน ไดโนเสาร์สะท้อนการเสื่อมถอยของเผ่าพันธุ์มนุษย์เนื่องจากนิทรรศการไดโนเสาร์ซึ่งมีชื่อเสียงในสมัยวิกตอเรียนที่ซิเดนแนม พาร์กได้จัดเส้นทางนิทรรศการย้อนกลับไปยังยุคดึกดำบรรพ์ โดยมีรูปปั้นไดโนเสาร์ต่างๆ อยู่ที่ปลายทาง นอกจากนี้ พญางูขาวในนวนิยายเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นสัตว์ดุร้ายป่าเถื่อน มีจิตใจแข็งกระด้าง และไม่อาจเห็นอกเห็นใจสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ อย่างไรก็ตาม คำบรรยายซากศพของทั้งพญางูและสิ่งที่เชื่อว่าเป็นเหยื่อของพญางู ซึ่งถูกทำลายด้วยตัวละครที่เป็นมนุษย์นั้น แสดงให้เห็นความรุนแรงและ “ความไร้มนุษยธรรม” เพราะความคิดที่ว่าความเห็นอกเห็นใจต่อสัตว์เป็นคุณลักษณะของมนุษย์นั้นเป็นที่แพร่หลายในสหราช อาณาจักรช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อตัวเรื่องรวมพญางูกับเลดี้ อราเบลลา มาร์ช ผู้มุ่งมั่นจะแต่งงานกับชายฐานะร่ำรวยนั้น เราอาจตีความได้ว่าความกังวลเกี่ยวกับความเสื่อมถ่อยและเสื่อมทรามทำให้นวนิยายเล่มนี้โจมตีผู้หญิงใหม่และผู้หญิงที่เรียกร้องสิทธิเลือกตั้ง เพราะผู้หญิงเหล่านี้ตั้งคำถามกับเพศวิถีของผู้หญิงและอาจไม่คิดมีทายาท ในเมื่อเลดี้ อราเบลลาสามารถรวมร่างกับพญางูได้ด้วย เราจึงอาจตีความได้เพิ่มเติมว่าเธอมีลักษณะเป็นแม่มีลึงค์ ซึ่งท้าทายปิตาธิปไตย ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการตอนในหมู่ผู้ชาย และทำให้เพศสถานะและเพศวิถีของเธอกำกวม อย่างไรก็ตาม ความเข้มแข็งของพลังอำนาจผู้ชายเพื่อเอาชนะ “สัตว์ร้าย” ในนวนิยายได้ นั้นก็ต้องอาศัยความสัมพันธ์ในกลุ่มเพศเดียวกัน ซึ่งอาจนำไปสู่จุดจบของเผ่าพันธุ์และไม่ให้กำเนิดทายาทเช่นกัน ดังนั้น บทความชิ้นนี้จึงมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นว่านวนิยายเรื่องนี้ตั้งคำถามกับการสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงอันเกิดจากแนวคิดเกี่ยวกับความก้าวหน้าและอนาคต โดยแสดงให้เห็นความย้อนแย้งที่อยู่ใจกลางการรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ | |
dc.description.abstract | With the concept of progressive and single temporal axis, the violence in The Lair of the White Worm by Bram Stoker is caused against The White Worm, a living dinosaur, and Lady Arabella March, a figure similar to a New Woman, by degeneration anxiety concerning the human race. Dinosaurs, in Victorian period, reminded human beings of devolution as the famous Victorian dinosaur exhibition at The Sydenham Park had organised the route of the exhibition back in primaeval times, with terrifying dinosaur sculpture at the end of the route. Moreover, the White Worm is seen in the novel as primitive and thus hardened and incapable of sympathy. However, the description of the carcasses of both the Worm and its supposed victims, after being eradicated by a group of human characters, show violence and "inhumanness" as the idea about human sympathy for animals had become prevalent in the nineteenth-century Britain. As the story turns out to merge The Worm with Lady Arabella March, who often devises rich marriage for herself, it could be interpreted that, out of the anxiety of devolution and decadence, the novel attacks New Woman and suffragettes, some of whom question feminine sexuality, as they could lead to no posterity. As Lady Arabella could merge herself with The Worm, she becomes a phallic mother, who disrupts patriarchy and evokes castration anxiety among men, making her gender and sexuality ambiguous. However, the strength of male power in the novel also requires homosocial relationship among men in order to conquer "the beast" in the novel, and yet homosocial relationship could also lead to the end of human race, with no posterity. Thus, this paper aims to show that the novel questions the justification of violence with the idea of progress and futurity by showing ironies at the heart of the preservation of the human race. | en |
dc.identifier.doi | https://doi.org/10.14456/thammasat-history.2016.11 | |
dc.identifier.issn | 2408-0829 | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/8129 | |
dc.language.iso | en | |
dc.publisher | ภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.subject | วิกตอเรียน | |
dc.subject | การตกต่ำเสื่อมทราม | |
dc.subject | ไดโนเสาร์ | |
dc.subject | ผู้หญิงใหม่ | |
dc.subject | ปิตาธิปไตย | |
dc.subject | Victorian | |
dc.subject | Degeneration | |
dc.subject | Dinosaurs | |
dc.subject | New Woman | |
dc.subject | Patriarchy | |
dc.subject.isced | 0222 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี | |
dc.subject.oecd | 6.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี | |
dc.title | อิสตรีและมังกร: ไดโนเสาร์ ผู้หญิงใหม่ และความกังวล ว่าด้วยความเสื่อมทรามในนวนิยายเรื่อง The Lair of the White Worm ของแบรม สโตเกอร์ | |
dc.title.alternative | The Woman and the Dragon: Dinosaur, New Woman, and Degeneration Anxiety in The Lair of the White Worm by Bram Stoker | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 232 | |
harrt.researchArea | ประวัติศาสตร์ | |
harrt.researchGroup | ประวัติศาสตร์ | |
harrt.researchTheme.1 | ประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก | |
harrt.researchTheme.2 | ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม | |
mods.location.url | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/78431/62816 | |
oaire.citation.endPage | 304 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.startPage | 225 | |
oaire.citation.title | วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ | |
oaire.citation.title | Thammasat Journal of History | en |
oaire.citation.volume | 3 |