Publication:
การวิเคราะห์ "วาทลีลา" ในโวหารทางการเมืองของนายชวน หลีกภัย ตามแนวภาษาศาสตร์และวาทศาสตร์

dc.contributor.authorนวพร มีเสียงศรี
dc.contributor.authorNawaporn Meesiangsrien
dc.date.accessioned2023-12-16T14:40:39Z
dc.date.available2023-12-16T14:40:39Z
dc.date.issued2004
dc.date.issuedBE2547
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ โครงสร้าง "วาทลีลา" ในโวหารทางการเมือง ของนายซวน หลีกภัย เพื่อพิจารณาดูความสัมพันธ์ของโครงสร้าง "วาทลีดา" กับบทบาทหน้าที่ ทางภาษา โดยเก็บร้อมูลจากเทปวีดิทัศน์การอภิปรายของนายชวน หลีกภัย ในรัฐสภา จำนวน 2 ชุด ได้แก่ เทปวีดิทัศน์การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ ขณะที่นายชวน หลีกภัย ดำรง ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญ ครั้งที่ 2 / 2540 ในวันที่ 24 - 26 กันยายน พ.ศ. 2540 และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะในการประชุมสภาผู้แทน ราษฎรสมัยสามัญ ครั้งที่ 29, 30. 31 ในวันที่ 18 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 ในขณะที่นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชุดสัมพันธ์กับบทบาทและหน้าที่ ทางภาษาที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่าบทบาทและหน้าที่ทางภาษาที่พบจากข้อมูลมีจำนวน 10 บทบาทซึ่ง สัมพันธ์กับโครงสร้าง "วาทลีลา" ที่ประกอบด้วยสัทภาคและอวัจนภาค สัทภาคที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่สัทสภาพปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับบทบาทและหน้าที่ทางภาษาต่างๆถึง 8 บทบาทที่ใช้สัทสภาพ ของเสียงปกติร่วมกับการลงน้ำหนักปกติ และใช้ความดังปานกลางค่อนข้างมาก แสดงความดัง อยู่ในช่วง 70-80 เดซิเบล และในจำนวนนี้มี 2 บทบาท ที่ใช้สัทสภาพของเสียงแทรกลมหายใจ สัมพันธ์กับบทบาทและหน้าที่ทางภาษาแสดงความรู้สึก ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ทางภาษาใน การแสดงทัศนะ ผลการวิจัยหบว่าบทบาทและหน้าที่ทางภาษาที่พบจากข้อมูลมีจำนวน 10 บทบาทรึ่ง สัมพันธ์กับโครงสร้าง "วาหลีลา" ที่ประกอบด้วยสัทภาคและอวัจนภาค สัทภาคที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่สัทสภาพปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับบทบาทและหน้าที่ทางภาษาต่างๆถึง 8 บทบาทที่ใช้สัทสภาพ ของเสียงปกติร่วมกับการลงน้ำหนักปกติ และใช้ความดังปานกลางค่อนข้างมาก แสดงความดัง อยู่ในช่วง 70-80 เดซิเบล และในจำนวนนี้มี 2 บทบาท ที่ใช้สัทสภาพของเสียงแทรกลมหายใจ สัมพันธ์กับบทบาทและหน้าที่ทางภาษาแสดงความรู้สึก ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ทางภาษาใน การแสดงทัศนะ สำหรับปรากฎการณ์ทางเสียงที่พบในการแสดงโวหารทางการเมืองนอกเหนือไปจาก สัทสภาพ ความดังและการลงน้ำหนัก พบว่านายชวน หลีกภัย มีการยึดเสียงประกอบการพูด การออกเสียงในลักษณะตัดพยางค์ การลดระดับความดังของเสียงท้ายประโยค ประกอบกับมี การพูดโดยใช้สัทลักษณ์ของสำเนียงภาษาแม่คือ ภาษาถิ่นใต้ ร่วมด้วย ซึ่งจะปรากฎในลักษณะ การพูดภาษาเชิงเสนอแนะกึ่งทางการ ในส่วนอวัจนภาคพบว่ามีการเคลื่อนไหวศีรษะในลักษณะ ต่างๆมากกว่าอวัจนลักษณ์อื่นๆที่ปรากฏ ซึ่งได้แก่ การเคลื่อนไหวลำตัว การเคลื่อนไหวแขน การเคลื่อนไหวดวงตา สำหรับบทบาทและหน้าที่ทางภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนสัทภาค และอวัจนภาคน้อยที่สุด ได้แก่ บทบาทและหน้าที่ทางภาษาแสดงการเบิกความ เป็นลักษณะการพูดด้วยลีลาที่เป็นทางการมากที่สุด
dc.description.abstractThis study aims to investigate "eloquence" in Mr. Chuan Leekpai's parliarnentary debates in terms of "rhetorical structure" in relation to function of language. Two sets of data were obtained form video-taped recordings of Mr. Chuan Leekpai' s parliamentary debates in September 1997, while he was an opposition leader, and in March 1998, while he was the Prime Minister. The rhetorical structure, i.e. phonetic and kinesic components of the utterances, was analysed in conjunction with ten functions of language. It was found that the main phonetic characteristics are voice quality, loudness and accentuation. Normal voice quality is associated with eight functions, while breathy voice quality is associated with two functions. Breathy voice quality connects with the expressive function of language and opinion. Most utterances are made with normal accentuation and are within the range of medium loudness. Moreover, phonetic phenomena in political oratory include, elision, extention, reduction of volume in final sentence particles, and using the phonetic features of the mother tongue "Southern Thai Dialect" These appear in consultative. In kinesic components, various forms of head movement are found more frequently than body, arm, eye, movement. The function of language in which phonetic and kinesic components are least changed is the function of language in openingremarks. It is formal style.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/8785
dc.language.isoth
dc.publisherมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สำนักหอสมุด
dc.publisher.placeกรุงเทพมหานคร
dc.subject.contentCoverageTHA - ไทย
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleการวิเคราะห์ "วาทลีลา" ในโวหารทางการเมืองของนายชวน หลีกภัย ตามแนวภาษาศาสตร์และวาทศาสตร์
dc.title.alternativeA linguistic and rhetorical analysis of Chuan Leekpai's style of political oratoryen
dc.typeวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID410
harrt.researchAreaภาษาศาสตร์ทฤษฎี (Theoretical Linguistics)
harrt.researchGroupภาษาศาสตร์
harrt.researchTheme.1วัจนปฏิบัติศาสตร์/ปริจเฉทวิเคราะห์/วาทกรรมวิเคราะห์ (Pragmatics/Discourse Analysis)
mods.location.urlhttps://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=184884
thesis.degree.departmentคณะศิลปศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Files