Publication:
ทัศนะของพระพุทธเจ้าต่อการเล่าเรียนพระธรรมวินัยจากอุปมาจับงูพิษในอลคัททูปมสูตร

dc.contributor.authorสมพรนุช ตันศรีสุข
dc.contributor.authorTansrisook, Sompornnuchen
dc.date.accessioned2023-12-15T10:12:12Z
dc.date.available2023-12-15T10:12:12Z
dc.date.issued2019
dc.date.issuedBE2562
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เจตนาของพระพุทธเจ้าที่ทรงเปรียบการเรียนพระธรรมวินัยกับการจับงูพิษในอลคัททูปมสูตร มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ ตามแนวคิดของทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน ด้วยการศึกษาภาพพจน์เกี่ยวกับงูที่ปรากฏและคําสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการศึกษาพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎก จากการศึกษาพบว่ามีการใช้ภาพพจน์เกี่ยวกับงูในพระไตรปิฎก 2 ลักษณะ ได้แก่ ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอันตรายที่บุคคลพึงละเว้น และในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการละสรีระเก่าและการเกิดใหม่ การเปรียบเทียบกับการจับงูพิษในอลคัททูปมสูตรแม้จะใกล้เคียงกับภาพพจน์เกี่ยวกับงูในความหมายแรกแต่การที่ทรงสนับสนุนการเรียนพระธรรมวินัยในขณะเดียวกันทําให้เห็นว่าอุปมาจับงูพิษมีนัยเป็นคําเตือนของพระพุทธเจ้าต่อการเรียนพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการงานเบื้องต้นของพระภิกษุ เพราะน่าจะทรงเห็นว่าการสืบทอดศาสนธรรมตั้งอยู่ในบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดกิเลสได้ง่าย พระภิกษุผู้ซึ่งเป็นปุถุชนจึงอาจผิดพลาดร้ายแรงได้เสมอ หากหลงระเริงในความสําเร็จและลาภสักการะที่เกิดขึ้น ดังนั้น พระภิกษุผู้อยู่บนเส้นทางของการศึกษาปริยัติจึงต้องสํารวมระวังด้วยความไม่ประมาทและมุ่งมั่นต่อความพ้นทุกข์อันเป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนา
dc.description.abstractThis article seeks to analyze the Buddha’s intention in comparing doctrinal learning with grasping a venomous snake in Alagaddūpamasutta (the Sutta) of Majjhimanikāya, using cognitive linguistics theory. It explores metaphors of snakes and the Buddha’s teachings about doctrinal learning in the Pāli canon. The study finds that the snake metaphor is used to convey two different meanings, i.e. danger which should be avoided, and leaving behind one’s physique or reincarnation. The metaphor in Alagaddūpamasutta reflects the danger mentioned in the first sense. Nevertheless, doctrinal learning is an important activity that the Buddha supported. The use of the metaphor thus represents the Buddha’s reminder to be mindful of the danger involved in doctrinal learning which is the first step of the Buddhist path for monks. The Buddha most likely saw a risk of defilements in the propagation of the Buddhist doctrine. Monks are ordinary humans who are subject to serious errors if they succumb to the success and praise as a result of learning the doctrine. They therefore need to be mindful and careful in learning the doctrine, and to focus directly on the ultimate Buddhist goal, the nirvana.en
dc.identifier.issn2651-219X (Online)
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/2455
dc.language.isoth
dc.subjectAlagaddūpamasutta
dc.subjectDoctrinal Learning
dc.subjectMetaphor
dc.subjectSnake
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleทัศนะของพระพุทธเจ้าต่อการเล่าเรียนพระธรรมวินัยจากอุปมาจับงูพิษในอลคัททูปมสูตร
dc.title.alternativeBuddha’s View of Doctrinal Learning from the Simile of Grasping a Venomous Snake in Alagaddūpamasuttaen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID379
harrt.researchAreaวรรณกรรม/วรรณคดีบาลีและสันสกฤต
harrt.researchGroupบาลีและสันสกฤต
harrt.researchTheme.1เครื่องมือของวรรณกรรม/วรรณคดี
mods.location.urlhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/jbscu/article/view/204690
oaire.citation.endPage105
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage76
oaire.citation.titleวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
oaire.citation.volume26
Files