Publication:
การศึกษาความเชื่อของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น

dc.contributor.authorอัจฉรา อึ้งตระกูล
dc.date.accessioned2023-12-15T10:23:33Z
dc.date.available2023-12-15T10:23:33Z
dc.date.issued2018
dc.date.issuedBE2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น และเพื่อเปรียบเทียบความเชื่อที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนที่มีผลการเรียนแตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อ โดยอ้างอิงจากแบบสอบถามเกี่ยวกับความเชื่อในการเรียนภาษาที่สองของ Horwitz (1985, 1987, 1988) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้เรียนหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อด้านความถนัดที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ย 2.95 อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความเชื่อด้านความยากง่ายที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ย 3.09 อยู่ในระดับปานกลาง 3) ความเชื่อด้านธรรมชาติของการอ่านภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ย 3.73 อยู่ในระดับมาก 4) ความเชื่อด้านกลยุทธ์ในการเรียนการอ่านและการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมาก และ 5) ความเชื่อด้านแรงจูงใจและความคาดหวังในการอ่านภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบหาความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างที่มีผลการเรียนต่างกันกับค่าเฉลี่ยของความเชื่อ แต่ละด้านโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่า ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01
dc.description.abstractThe purpose of the research was to study beliefs of non-native Japanese learners in Japanese reading. The participants were 50 non-native Japanese learners. The research instrument used in this study were questionnaires. The collected data were analyzed by descriptive statistics: frequency of distribution, percentages, mean, standard deviation and one way ANOVA. The research findings were as follows: 1) The beliefs towards Japanese reading aptitude were at a moderate level (= 2.95). 2) The beliefs towards difficulty in Japanese reading were at a moderate level (=3.09). 3) The beliefs towards nature of Japanese reading were high at the level (=3.73). 4) The beliefs towards learning of Japanese reading strategies and communication were high at the level (=3.59) and 5) The beliefs towards motivation and expectations of Japanese reading were high at the level (=3.55). The analysis of the data in comparing the grade point average and beliefs in Japanese reading was not statistically significant difference at the 0.01 level.en
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/2911
dc.language.isoth
dc.subjectความเชื่อ
dc.subjectผู้เรียน
dc.subjectภาษาญี่ปุ่น
dc.subjectการอ่าน
dc.subject.isced0231 การเรียนภาษา
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleการศึกษาความเชื่อของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น
dc.title.alternativeA Study of Non-native Japanese Learners' Beliefs in Japanese Reading.en
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID234
harrt.researchAreaการสอนภาษาญี่ปุ่น
harrt.researchGroupภาษาญี่ปุ่น
harrt.researchTheme.1การเรียนการสอนภาษา (Language Teaching)
harrt.researchTheme.2ความเชื่อ (belief) การเรียนการสอนภาษา
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn/article/view/196891/136847
oaire.citation.endPage44
oaire.citation.issueพิเศษ
oaire.citation.startPage22
oaire.citation.titleวารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา
oaire.citation.titleJSN Journalen
oaire.citation.volume8
Files