Publication: คัมภีร์สีมาวิโสธนี : การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์
dc.contributor.author | วิโรจน์ คุ้มครอง | |
dc.contributor.author | พระศรีสุทธิเวที ขวัญ ถิรมโน | |
dc.contributor.author | พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป (คำเคน) | |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:13:05Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:13:05Z | |
dc.date.issued | 2022 | |
dc.date.issuedBE | 2565 | |
dc.description.abstract | บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า คัมภีร์สีมาวิโสธนี เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการชำระสีมา อธิบายเรื่องสีมาที่ถูกต้องตามพระวินัย พระสาครพุทธิเถระแต่งอธิบายใน 5 หัวข้อคือ อุปสมบทกัณฑ์ กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์ สมสีสีกัณฑ์ และปกิณณกกัณฑ์ มีลักษณะการประพันธ์แบบร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยใช้นามศัพท์ กิริยาศัพท์ และอัพพยศัพท์ได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา ซึ่งมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก โดยนำคำสำคัญในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกามาอธิบายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการปริวรรตคัมภีร์สีมาวิโสธนีจากภาษาบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทยสำเร็จเรียบร้อยแล้ว คัมภีร์สีมาวิโสธนีมีคุณค่าต่อวินัยกรรมพระสงฆ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาตสีมา และทรงกำหนดให้พระสงฆ์สาวกต้องประชุมทำร่วมกันในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อมิให้ฆราวาสเข้ามายุ่งเกี่ยว สีมามีทั้งหมด 19 ชนิด เช่น ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา อวิปปวาสสีมา เป็นต้น และมีคุณค่าต่อวินัยกรรมของพระสงฆ์ที่เรียกว่า สังฆกรรม มีอยู่ 4 ประเภท คือ อปโลกนกรรมเป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ไม่ต้องทำภายในสีมา ส่วนสังฆกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในสีมา คือ ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ตัวอย่างเช่น การอุปสมบทเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติจตุตถกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในสีมา ถ้าสงฆ์มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่มีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน บุคคลที่จะบวชนั้นก็สำเร็จเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ โดยต้องผ่านเครื่องมือที่สำคัญคือสีมาจึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย | |
dc.description.abstract | This research article had investigated to present the highlight of SīmāvisodhanīScripture regarding to describe the right precinct orSīmāallowed in Vinaya. Most Ven. Sagarabuddhithera had composed commentary on 5 topics, i.e., Upasampadakaṇḍa, Kappavinasakaṇḍa, Nibbānakaṇḍa, Samasīsīkaṇḍa, and Pakiṇṇakakaṇḍa.There are two types of writing: prose (Simple essay) and verse (Incantations) which signified his excellence on Pali language seen in his text composition using correct nouns, verbs, and terminology based on linguistic principles and grammarconsistent with Tipitaka, commentaries, sub-commentaries and other special texts. The researcher had transliterated from Pali Burmese manuscript into Pali Thai characters, and finally correctly translated into Thai language. The value of Sīmāvisodhanīdealing with the Sangha disciplines was allowed by the Buddha himself to accomplish in the specified area only and to prevent any interfering of lay people. There are a total of 19 types of Sīmā, for example, Khaṇḍasīmā, Upacārasīmā, Samānasanvāsasīmāetc. In addition, the value of Sangha’s works in which Sangha must recognize all works called Sanghakammawhich contains 4 types; 1) Apalokanakammain which Sangha can accomplish outside the precinct, while all of, 2) Ñattikamma or a motion, 3) Ñattidutiyakamma, 4) Ñatticatutthakamma, must be accomplished inside the precinct only. For example, an ordination is a type of Ñatticatutthakammarequires the permission from Sangha inside the precinct, if Sangha has a unanimous resolution, no Bhikkhus oppose it, that ordination will be completely. This ceremony must be accomplished only inside Sīmāfor correct discipline of Buddhist tradition. | en |
dc.identifier.issn | 2651-0823 | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/2529 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | คัมภีร์สีมาวิโสธนี | |
dc.subject | การปริวรรต | |
dc.subject | การแปล | |
dc.subject | การวิเคราะห์ | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | คัมภีร์สีมาวิโสธนี : การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์ | |
dc.title.alternative | Sīmāvisodhanī: Transliteration, Translation and Analysis | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 368 | |
harrt.researchArea | วรรณกรรม/วรรณคดีบาลีและสันสกฤต | |
harrt.researchGroup | บาลีและสันสกฤต | |
harrt.researchTheme.1 | การตรวจชำระ/ปริวรรต/แปล/วิเคราะห์ | |
mods.location.url | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/257266 | |
oaire.citation.endPage | 31 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 6 | |
oaire.citation.title | วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ | |
oaire.citation.volume | 8 |