Publication:
แสงเงาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ฉายทับ ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา การช่วงชิงความหมายของพื้นที่ ระหว่างล้านนากับสยาม (ทศวรรษ 2440-พ.ศ. 2475)

dc.contributor.authorภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
dc.contributor.authorPinyapan Potjanalawanen
dc.contributor.editorชาตรี ประกิตนนทการ
dc.contributor.editorChatri Prakitnontakanen
dc.coverage.temporal1900-1934
dc.date.accessioned2023-12-16T09:19:25Z
dc.date.available2023-12-16T09:19:25Z
dc.date.issued2013
dc.date.issuedBE2556
dc.description.abstractในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตไปสู่รัฐสมัยใหม่เป็นต้นมา นโยบายของรัฐบาลสยามได้มีผลต่อการจัดรูปของอุดมการณ์รัฐ โลกทัศน์ที่มีต่อตนเองและโลกสากล ภูมิศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ ตลอดไปจนถึงการสร้างระบอบการปกครองที่รวมอำนาจสู่ศูนย์กลางอย่างเข้มข้นด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บทความนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างรัฐสมัยใหม่สยามกับดินแดนล้านนาอันมีผลต่อการจัดการพื้นที่และการซ่อมสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมในดินแดนล้านนา เวลาที่ทำการศึกษาตั้งแต่สยามเริ่มปรับตัว โดยผลักดันให้เกิดการ “ปฏิรูปการปกครอง” ขึ้นในทศวรรษ 2440 รอยต่อนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในการทำความเข้าใจพื้นที่และศิลปะสถาปัตยกรรมของล้านนาหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ครอบงำชุดใหม่จากสยาม ไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือไม่ก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในศาสนสถานล้านนาเป็นตัวแบบสำคัญที่ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ซับซ้อน พบการต่อรองอำนาจผ่านการจัดการพื้นที่และศิลปะสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างซ่อมแซมสถาปัตยกรรมนี้ไม่ได้เป็นไปตามโครงเรื่องตายตัวที่ว่า ล้านนายอมรับอำนาจสยามทั้งหมดด้วยความจงรักภักดีในฐานะที่เป็นพสกนิกรใต้พระบรมโพธิสมภาร หรือแสดงให้เห็นว่ากลุ่มการเมืองในดินแดนล้านนาต่อต้านสยามอย่างสุดขั้ว
dc.description.abstractIn the time of state transformation from pre-modern state to modern state, Siam new policy affected the state ideology, world view, modern geo-politics and new regime such as absolute monarchy. This article studies the political relationship between Siamese modern state and Lanna the Siamese colony. The range of time starts about 1900 decade when Siam-state had reformed their local government. This threshold is the important changes to understand Lanna space and architecture after the ideology domination. The change of Lanna monastery space is the interesting model to study. This form of politic movement performed through managing space and architecture in terms of monastery restoration and construction. These do not resemble the plot that had been said Lanna had accepted the whole Siamese powers with loyalty, or in the other hand it doesn’t mean that Lanna politics group were against Siam radically.en
dc.identifier.issn2697-4665
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/8097
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
dc.subjectรัฐสมัยใหม่
dc.subjectสมบูรณาญาสิทธิราชย์
dc.subjectศาสนสถานล้านนา
dc.subjectศิลปะสถาปัตยกรรมอิทธิพลสยาม
dc.subject.isced0222 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.subject.oecd6.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.titleแสงเงาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ฉายทับ ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา การช่วงชิงความหมายของพื้นที่ ระหว่างล้านนากับสยาม (ทศวรรษ 2440-พ.ศ. 2475)
dc.title.alternativeLight and Shade of Absolute Monarchy on Lanna Architecture : the Contest of Siamese and Lanna Space (1900s-1934)en
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID565
harrt.researchAreaประวัติศาสตร์
harrt.researchGroupประวัติศาสตร์
harrt.researchTheme.1ประวัติศาสตร์ไทย
harrt.researchTheme.2ประวัติศาสตร์การเมือง
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA/article/view/16643/15058
oaire.citation.endPage69
oaire.citation.startPage40
oaire.citation.titleวารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม
oaire.citation.titleNAJUA: Architecture, Design and Built Environmenten
oaire.citation.volume9
Files