บรรณารักษศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
กระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการ ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการแสวงหาสารสนเทศและอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครจาก 6 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยการฝึกหัดครู และวิทยาลัยนานาชาติพระนคร ซึ่งแบ่งออกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 202 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามกระบวนการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเรื่องกระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สรุปผลการวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ ได้ดังนี้ 1. กระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. อุปสรรคในแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. กระบวนการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครเริ่มต้นการแสวงหาสารสนเทศบนเว็บ อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ การสำรวจเลือกดู ลงมือค้นหาเอกสารอื่นๆ สาระสังเขป ตัวเอกสารที่ได้รับคำแนะนำ การเชื่อมโยงร้อยเรียงจากรายการอ้างอิง และบรรณานุกรม การแยกแยะสารสนเทศพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา การตรวจตราโดยติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ การรวบรวมจัดเก็บในโฟลเดอร์หลังจากการสืบค้นแล้วการดึงสารสนเทศออกมาโดยการใช้เอกสาร หนังสือ วารสาร การอ้างอิงแหล่งที่มา การตรวจสอบ แหล่งที่มาและการอ้างอิงของข้อมูล และการจบได้รับสารสนเทศตามโครงเรื่องที่กำหนด 4. อุปสรรคในแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มี 3 ด้าน ลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น ไม่ทราบวิธีการในการแสวงหาสารสนเทศ เป็นต้น อุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจ เช่น มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นต้น และด้านอุปสรรคทางสังคมหรืออุปสรรคระหว่างบุคคล เช่น มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นต้น
การจัดการความรู้ การสืบค้นสารสนเทศออนไลน์
การจัดการความรู้ การสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ สานักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทางสานักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลากรนาความรู้และประสบการณ์มาจัดการอย่างเป็น ระบบตามกระบวนการจัดการความรู้และนาความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้สาธารณชนหรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับรู้และเนื่องด้วยขณะนี้ศูนย์วิทยบริการได้ ขับเคลื่อน การให้บริการสารสนเทศในฐานะแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge base economy) ซึ่งเป็นยุคที่ทุก ๆ กิจกรรมดาเนินไปด้วยความรู้เป็นแกนหลักนั้นคือการผลิตและ แพร่กระจายสินค้าและบริการโดยอาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ในการสร้างความเติบโต ความมั่ นคงและสร้างงานในทุกภาคเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้สังคมและหน่วยงานต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวไป สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นความรู้จึงเป็นอานาจ (Knowledge power) เนื่องจากความรู้ เป็นสิ่งที่ผูกพันอยู่กับงานหรือกิจกรรมของแต่ละบุคคลในองค์กร และความรู้ที่ใช้ในการทางานนั้น ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ปฏิบัติงาน หรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเอง อาจสร้างขึ้นจากการเลือกเอาความรู้เชิงทฤษฏี หรือความรู้จากภายนอกมาปรับแต่งเพื่อการใช้งาน หรือสร้างขึ้นโดยตรงจากประสบการณ์ใน การทางาน ดังนั้นการจัดการความรู้จึงถือเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร เนื่องจากความรู้ที่จะสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องพัฒนาจากข้อมูลระดับสารสนเทศ ระดับ ความรู้ภายใน (Tacit knowledge) ไปสู่ระดับปฏิบัติหรือผลสะท้อน จนกระทั่งถึงระดับปัญญา ทั้งนี้ การจัดการความรู้ในองค์กรถือเป็นวิธีการพัฒนากระบวนการของนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องร่วมกับ สมาชิกทุกคนภายในองค์กร
กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษสู่ประเทศไทย 4.0
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) ศึกษากลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษสู่ประเทศไทย 4.0 ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษสู่ประเทศไทย 4.0 คือ ต้องปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีความทันสมัย ติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ ควรให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ควรมีนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้บริการ มีการจัดกิจกรรมใหม่ๆ ที่หลากหลายและเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย ควรเพิ่มความหลากหลายและความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศ และควรเน้นทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
การจัดนิทรรศการในยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์
บทความนี้นำาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ การจัดนิทรรศการในยุคเดิมและยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์ การเปรียบเทียบการจัดนิทรรศการในยุคเดิมและยุคดิจิทัลในเรื่องของสื่อ การบริการการประชาสัมพันธ์ งบประมาณ และบุคลากรที่ใช้ในการจัดนิทรรศการ ข้อดี-ข้อเสีย ของการจัดนิทรรศการในยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างการจัดนิทรรศการในยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ ภาพรวมการจัดนิทรรศการในยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศด้านของสื่อที่ใช้จัด การให้บริการ การประชาสัมพันธ์งบประมาณที่ใช้ และบุคลากรที่ให้บริการ รวมทั้งข้อเสนอแนะการจัดนิทรรศการในยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์ไทย
การจัดการเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการรับบริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริม การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของห้องสมุด แนวความคิด เชิงนโยบาย และปัญหาอุปสรรคในการบริหารและการบริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ หน่วยการวิจัย คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมาวิทยาเขตกาฬสินธุ์ ขอนแก่น สกลนคร และสุรินทร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย จำนวน 14 คน และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 753 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติค่าร้อยละและการหาค่าดัชนีความสอดคล้องวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการรับบริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจารย์มีความต้องการด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการสืบค้นและแสวงหาความรู้มากสุด ร้อยละ 52.45 2) บทบาทหน้าที่ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน บรรณารักษ์เห็นว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยควรจัดสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับ การสืบคัน /แสวงหาความรู้มากสุด ร้อยละ78.60 ส่วนปัญหาอุปสรรคในการให้บริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน คืออาจารย์ไม่มีโอกาสในการวางแผนร่วมกับบรรณารักษ ์ ร้อยละ 20.00 3) รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยควรกำหนดกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมแบบมีส่วนร่วม"