การเขียนบทและการดัดแปลงบท

Permanent URI for this collection

บทความวิจัย บทความวิชาการ และหนังสือด้านศิลปะการละคร เกี่ยวกับการเขียนบทและการดัดแปลงบท

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 36
No Thumbnail Available
Publication

กระบวนการสร้างบทละครเวทีไทยสมัยใหม่

ยุทธนา บุญอาชาทอง, Boonarchatong, Yuttana (2017)

วิจัยครั้งนี้ศึกษาเรื่อง กระบวนการสร้างบทละครเวทีไทยสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการคิดสร้างสรรค์ วิธีการเขียนบทละครเวที และเทคนิคเฉพาะบุคคลผู้เขียนบทละครเวที การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เขียนบทละครเวทีจำนวน 5 คน ที่มีผลงานต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์บทละครเวทีมีการคิดจากบทดั่งเดิม และบทดัดแปลง มีความคิดมาจาก สิ่งที่เกิดรอบตัว เหตุการณ์ปัจจุบัน สังคม ประวัติศาสตร์ และจากตนเองโดยผู้เขียนบทมีเทคนิคเฉพาะบุคคล ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งมีกระบวนการเขียนบทประกอบไปด้วย ความชอบแรงบันดาลใจ การอ่านบทประพันธ์ การหาข้อมูล การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่องขยาย การแสดงสด การซ้อม และบทแสดง

No Thumbnail Available
Publication

เรื่องเล่าจากท้องถิ่นสู่บทละครโทรทัศน์: หมู่ 2 กอง 4 สามัคคีชุมนุม

ชญานุช วีรสาร, Veerasarn, Chayanoot (2020)

ละครโทรทัศน์เป็นการเล่าเรื่องของมนุษย์ในสังคมผ่านจินตนาการและมุมมองของนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ซึ่งบทละครโทรทัศน์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตละครโทรทัศน์ งานสร้างสรรค์นี้เป็นการเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง หมู่ 2 กอง 4 สามัคคีชุมนุม ความยาว 1 ชั่วโมงภายใต้แนวคิด “เรื่องเล่าจากท้องถิ่น” โดยมีแรงบันดาลใจจากประสบการณ์และความทรงจำวัยเด็กของผู้สร้างสรรค์ และมีกลวิธีการเขียนบทละครโทรทัศน์ ได้แก่ คิดแก่นเรื่องจากประเด็นสังคม นำประสบการณ์มาเป็นโครงเรื่อง สร้างตัวละครให้สมเหตุสมผล อ้างอิงสถานที่จริงเพื่อความสมจริงของฉาก สอดแทรกเรื่องเล่าจากท้องถิ่น และตั้งชื่อเรื่องให้น่าจดจำ

No Thumbnail Available
Publication

การออกแบบตัวละครในภาพยนตร์ เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 ภายใต้แนวคิดนพลักษณ์

ประภาส นวลเนตร, Nualnetr, Prapas (2021)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์การออกแบบตัวละครหลักในภาพยนตร์ไทยเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 ด้วยแนวคิดนพลักษณ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหาตัวละครหลักจากภาพยนตร์ดังกล่าว จำนวน 12 คน ผ่านการตีความบุคลิกภาพ บทสนทนา และการแสดงออกของตัวละครจากการชมภาพยนตร์ด้วยตนเองของนักวิจัย การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์และบทวิจารณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบตัวละครในภาพยนตร์ดังกล่าวสอดคล้องกับกรอบแนวคิดนพลักษณ์ ตัวละครที่มีลักษณ์คงเดิม มีจำนวน 7 คน ตัวละครที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณ์ตามสถานการณ์มีจำนวน 5 คน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตามธรรมชาติของนพลักษณ์ ดังนั้น การนำแนวคิดนพลักษณ์นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบตัวละครในภาพยนตร์นั้นเพื่อเป็นการพัฒนางานภาพยนตร์ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

No Thumbnail Available
Publication

การเขียนบทละครเพลงว่าด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์

นฤทธิ์ ปาเฉย, Pachoei, Narit (2021)

เรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ มีอิทธิพลต่อประเทศไทยในด้านสังคม การเมืองและ ศิลปวัฒนธรรม มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงก่อน “เหตุการณ์ 14 ตุลา” หรือ “วันมหา-วิปโยค” พ.ศ. 2516 ถึงช่วงหลัง “เหตุการณ์ 6 ตุลา” หรือ “การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” พ.ศ. 2519 ผู้วิจัยศึกษาการผลิตเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะวัตถุดิบสร้างสรรค์เรื่องราวและวิธีการ นำเสนอ เพื่อเขียนบทละครเพลงที่แสดงให้เห็นการประกอบสร้างบุคคลต้นแบบผ่านเรื่องเล่า วิพากษ์การ เผยแพร่และสืบทอดอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านบุคคลต้นแบบ และทำให้ผู้ชมตระหนักถึงอิทธิพลของการยึดติดบุคคลต้นแบบจนเกิดความขัดแย้งที่บานปลายสู่การใช้ความรุนแรง ผู้วิจัยใช้เพลงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินเรื่องและใช้วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง (multiple plots) เพื่อสื่อสารประเด็นดังกล่าว โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตเรื่องเล่า การเขียนบทละครเพลงและวิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง ผลการศึกษาพบว่า วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่องด้วยการ “ตัดแปะ” (collage) โครงเรื่อง 3 โครงเรื่องบนโครงเรื่องใหม่ เป็นวิธีการที่กระตุ้นความคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ของผู้ชมต่อประเด็นที่ผู้วิจัยตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพลงจะไม่ได้ทำหน้าที่ดำเนินเรื่องเป็นหลัก แต่ทำหน้าที่ถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจแรงผลักดันของตัวละครสำคัญ ที่ไม่สามารถแสดงความต่อเนื่องของการกระทำบนวิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่องได้

No Thumbnail Available
Publication

กลวิธีการเขียนบทละครเพลงสุนทราภรณ์จากประวัติชีวิตครูเอื้อ สุนทรสนาน

สาวิตา ดิถียนต์, Diteeyont, Sawita (2021)

วงดนตรีสุนทราภรณ์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2482 เป็นวงดนตรีแบบบิ๊กแบนด์ของเอกชนที่ก่อตั้งและดำเนินงานต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์วงดนตรีไทยเพลงสุนทราภรณ์ที่มีมากกว่า 2,000 เพลงมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวหลากหลายด้านและสะท้อนสภาพสังคมในหลายยุคสมัย เอกลักษณ์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเพลงสุน ทราภรณ์คือบทเพลงมีลักษณะเป็นวรรณกรรม กล่าวคือเนื้อเพลงมีลักษณะของการบอกเล่าเรื่องราว นอกจากนี้บทเพลงสุนทราภรณ์หลายเพลงถูกแต่งมาจากเรื่องราวในชีวิตของครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมองว่าหากนำประวัติชีวิตของครูเอื้อ และประวัติวงดนตรีสุนทราภรณ์มาพัฒนาเป็นโครงเรื่องบทละครเพลง จะสามารถได้บทละครเพลงที่มีความเป็นไทย เน้นความหมายของเพลงสุนทราภรณ์ ถือเป็นการสืบสานบทเพลงสุนทราภรณ์ที่เป็นสมบัติของชาติ และยังเป็นการเชิดชูเกียรติครูเอื้อ สุนทรสนานผู้ซึ่งองค์กรยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกอีกด้วย งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประวัติของครูเอื้อ สุนทรสนานและบทเพลงสุนทราภรณ์ เพื่อนำมาเขียนเป็นบทละครเพลงสุนทราภรณ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเพลงและวงดนตรีสุนทราภรณ์ ผู้วิจัยเริ่มต้นจากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับครูเอื้อ สุนทรสนาน ประวัติวงดนตรีและบทเพลงสุนทราภรณ์ ตลอดจนการวิเคราะห์เอกลักษณ์ของวงดนตรีสุนทราภรณ์เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาบทละคร โดยผู้วิจัยได้พัฒนาบทละครโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแก่นเรื่องและประเด็นที่ต้องการนำเสนอ การวางโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร และการเลือกใช้เพลง ผู้วิจัยสร้างบทละครเพลงสุนทราภรณ์จากประวัติชีวิตครูเอื้อ สุนทรสนาน โดยมีความยาวประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที แบ่งเป็น 2 องก์ ประกอบไปด้วย 27 ฉาก และใช้เพลงสุนทราภณ์ทั้งหมด 42 เพลง บทละครเลือกใช้เพลง พระเจ้าทั้งห้า มาเป็นแกนหลักของเรื่อง และนำเรื่องชีวิตรักและการทำงานของครูเอื้อ สุนทรสนาน มาพัฒนาเป็นโครงเรื่องหลักในแต่ละองก์ การเลือกใช้เพลงนอกจากจะใช้เพลงที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวประวัติครูเอื้อโดยตรงแล้ว ยังคำนึงถึงเนื้อเพลงที่ถูกนำมาใช้แทนบทสนทนาในบทละคร ประเภทและจังหวะเพลงที่จะส่งผลถึงจังหวะการดำเนินเรื่องเอกลักษณ์ของเพลง สุนทราภรณ์ถูกนำเสนอผ่านความหลากหลายของรูปแบบเพลงภาพสังคมที่สะท้อนผ่านเพลงสุนทราภรณ์ในแต่ละยุค รวมถึงตัวละครที่เป็นครูเพลงและนักร้องของวงดนตรีสุนทราภรณ์ที่เป็นที่รู้จัก