วรรณกรรม/วรรณคดีภาษาสเปน
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Geocriticism and the exploration of Mexico City-Tenochtitlán in Carlos Fuentes’ Where the Air is Clear
Where the Air is Clear, or La región más transparente (1958) in its original version, is an urban fiction of Mexico City structured from a postcolonial perspective by Carlos Fuentes, one of Latin American Boom authors. This literary biography of 1950s Mexico’s capital is portrayed with a double complexity. On one hand, the modern but chaotic space is presented through a narrative fragmentation composed of a “chorus” of inhabitants from different social classes and neighbourhoods. On the other, the author depicts a total image of the megacity by highlighting its historical particularity: Mexico City was constructed by Spaniards precisely above the ruins of Tenochtitlán, the capital of the Aztecs. This article proposes a study of the Boom’s classic text with a novel approach from a geographical focus. The methodology utilized is Bertrand Westphal’s Geocriticism (2007) that aims to explore a space’s fictionalization from a multidisciplinary approach, in this case, literature, history and geography, and with the use of cartographic representations. This analysis is, thus, “mapped” from the perspective of Ixca Cienfuegos, an indigenous character with supernatural powers who explores the space of Mexico City-Tenochtitlán through two key years: 1951—the Dystopia of Mexico City where modernity cohabitates with antiquity, and prosperity with poverty— and 1519 —the Utopian past of Tenochtitlán before the landscape’s transformation under Spanish colonization.
ภาพความทรงจําอาณาจักรอินคาและอาณาจักรอยุธยาในนวนิยาย ร่วมสมัย: กรณีศึกษา สายน้ําลึก (Los ríos profundos) และ เรือนมยุรา
บทความนี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างภาพความทรงจําเกี่ยวกับอาณาจักรอินคาของประเทศเปรูและอาณาจักรอยุธยาของ ประเทศไทยในพื้นที่วรรณกรรมร่วมสมัย โดยมีกรณีศึกษาคือ สายน้ําลึก (Los rios profundos, ค.ศ. 1958 / พ.ศ. 2501) นวนิยายชนพื้นเมืองนิยมแนวใหม่ของโฆเซ มาเรีย อาร์เกดัส (José María Arguedas) และ เรือนมยุรา (พ.ศ. 2538) จินตนิยายอิงประวัติศาสตร์ของแก้วเก้า นวนิยายทั้ง 2 เล่มนําเสนอการเดินทางข้ามมิติเวลาของตัวละครเอกไปยังเมืองหลวงของอาณาจักรโบราณ กุซโกจึงเป็นฉากหลักในผลงานเล่มแรกและกรุงศรีอยุธยาเป็นฉากหลักในผลงานเล่มที่ 2 ผู้เขียนทั้ง 2 ท่านจินตนาการเหตุการณ์เหนือจริงดังกล่าวขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อท้องถิ่นในสังคมเปรูและไทย การศึกษาวิเคราะห์ในบทความนี้จึงใช้กรอบทฤษฎีความทรงจําและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเปรียบต่างประวัติศาสตร์อาณาจักรอินคาและ อยุธยา กระบวนการสร้างเอกสาร “ประวัติศาสตร์” ที่สะท้อนความทรงจําอันหวนไห้ต่อทั้ง 2 อาณาจักร รวมถึงภาพเมือง กุซโกและกรุงศรีอยุธยาในผลงานวรรณกรรมชนพื้นเมืองนิยมของเปรูและนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของไทย
ความโดดเดี่ยวในฐานะปัจจัยหลักที่สร้างคุณลักษณะและอัตลักษณ์เม็กซิกันใน ‘เขาวงกตแห่งความโดดเดี่ยว’
การศึกษาอัตลักษณ์เม็กซิกันจํากวรรณกรรมประเภทความเรียงแสดงให้เห็นว่าความโดดเดี่ยวเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดคุณลักษณะของคนเม็กซิกันและอัตลักษณ์เม็กซิกันที่แตกต่างหลากหลายนับตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของเจ้าอาณานิคมสเปนจนกระทั่งถึงช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความโดดเดี่ยวซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างคุณลักษณะของคนเม็กซิกันในความเรียง 2) อภิปรายความสัมพันธ์ของความโดดเดี่ยวคุณลักษณะของคนเม็กซิกันและ อัตลักษณ์เม็กซิกันในความเรียงผู้วิจัยใช้ตัวบทวรรณกรรมความเรียงจํานวน 1 เล่มคือ “เขาวงกตแห่งความโดดเดี่ยว” (El laberinto de la soledad; 1950) ของอ็อกตําบิโอ ปาซ (Octavio Paz) ประกอบด้วยความเรียงจำนวน 8 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าความโดดเดี่ยวนําไปสู่การสร้างคุณลักษณะของคนเม็กซิกันโดยมีบุคลิกภาพที่หลากหลายซับซ้อนและทับซ้อนเช่นปริศนาลึกลับปิดกั้นตนเองหลีกหนีกีดกันทํางเพศปรับตัวได้เข้าอกเข้าใจยึดมั่นอุดมการณ์อีกทั้งความโดดเดี่ยวเป็นปัจจัยสําคัญหนึ่งซึ่งทําให้คนเม็กซิกันเข้าใจตนเองและยอมรับควํามเป็นอื่นด้วยเหตุนี้ความโดดเดี่ยวและคุณลักษณะของคนเม็กซิกันส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์เม็กซิกันโดยรวมซึ่งแบ่งออกเป็นสามลักษณะ 1) อัตลักษณ์ด้านความเชื่อทางศาสนามีลักษณะทวิลักษณ์ 2) อัตลักษณ์ด้านเพศธำรงแนวคิดเรื่องชายเป็นใหญ่และการกีดกันทํางเพศ 3) อัตลักษณ์ด้านอุดมการณ์การเมืองและสังคมประกอบสร้างจากแบบแผนของคนเม็กซิกันและแบบแผนของผู้อื่น