Publication: การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทสนทนาภาษาไทยของนักศึกษาชาวไทยและบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในสถานการณ์การตอบรับคำชักชวน
dc.contributor.author | ธนิส พูนวงศ์ประเสริฐ | |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:27:11Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:27:11Z | |
dc.date.issued | 2021 | |
dc.date.issuedBE | 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทสนทนาและลักษณะการใช้วัจนกรรมในสถานการณ์การตอบรับคำชักชวนไปรับประทานอาหารของกลุ่มนักศึกษาชาวไทยที่สนทนาด้วยภาษาไทย (TT) และกลุ่มผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่สนทนาด้วยภาษาญี่ปุ่น (JT) กลุ่มละ 20 คู่ รวม 40 คู่ ทั้ง 2 กลุ่มเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการอัดเสียงบทสนทนาบทบาทสมมุติ ผลการศึกษา พบว่า<<ส่วนเปิดบทสนทนา>><<ส่วนชักชวน>>และ<<ส่วนปรึกษา>> เป็นส่วนที่ปรากฏบ่อยในบทสนทนาของทั้ง 2 กลุ่ม แต่เมื่อวิเคราะห์การเรียงลำดับวัจนกรรมในโครงสร้างบทสนทนาแต่ละส่วน พบความแตกต่างกันหลายประการ เช่น (1) TT มักเปิดบทสนทนาด้วยการเรียกขาน จากนั้นชักชวนคู่สนทนาทันที แต่ JT จะเรียกขาน และรอจังหวะให้คู่สนทนาตอบรับ (2) เมื่อถูกชักชวน TT มักจะไม่ตอบรับโดยทันที แต่จะถามรายละเอียดและเจรจาร่วมกับผู้ชักชวน แล้วจึงตอบรับ ส่วน JT มักตอบรับคำชักชวนทันที (3) TT ปิดท้ายบทสนทนาด้วยการทักทาย JT ส่วนใหญ่ไม่มีส่วนปิดบทสนทนา นอกจากนี้ทั้ง 2 กลุ่มยังมีลักษณะการใช้วัจนกรรมที่แตกต่างกัน เช่น (1) TT มักพูดปฏิเสธตรง ๆ แต่กลุ่ม JT มักจะหลีกเลี่ยงการพูดปฏิเสธ (2) TT มักใช้วัจนกรรมแสดงทัศนะเพื่อโน้มน้าวคู่สนทนา แต่กลับไม่พบการใช้วัจนกรรมนี้ในกลุ่ม JT จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ไม่พบการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่เด่นชัดในกลุ่ม JT ปัจจัยที่ทำให้ลักษณะการใช้ภาษาของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกัน คือ ตำราเรียนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ความสามารถภาษาญี่ปุ่น และวัฒนธรรม ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะช่วยชี้แนะประเด็นในเรื่องการถ่ายโอนทางภาษา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/3103 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | โครงสร้างบทสนทนา | |
dc.subject | การชักชวน | |
dc.subject | วัจนกรรม | |
dc.subject | การถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ | |
dc.subject.isced | 0231 การเรียนภาษา | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทสนทนาภาษาไทยของนักศึกษาชาวไทยและบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในสถานการณ์การตอบรับคำชักชวน | |
dc.title.alternative | A Comparative Analysis of Conversational Organization in Acceptance of Invitation Conversations of Thai Students speaking in Thai and Japanese Language Thai Learners speaking in Japanese | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 227 | |
harrt.researchArea | ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchGroup | ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchTheme.1 | วัจนปฏิบัติศาสตร์/ปริจเฉทวิเคราะห์/วาทกรรมวิเคราะห์ (Pragmatics/Discourse Analysis) | |
harrt.researchTheme.2 | ระดับความสัมพันธ์ (การสื่อสาร) ภาษาและพฤติกรรม | |
mods.location.url | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/257007/173436 | |
oaire.citation.endPage | 35 | |
oaire.citation.issue | 2 | |
oaire.citation.startPage | 17 | |
oaire.citation.title | วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ | |
oaire.citation.title | Payap University Journal | en |
oaire.citation.volume | 31 |