Publication: บทแปลเรื่อง “เรื่องเท็จลำดับที่สาม” ของ อโกตา คริสตอฟ พร้อมบทวิเคราะห์
dc.contributor.author | ณัฐพัชร์ คำชุม | |
dc.contributor.author | Kamchum, Nattapat | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-14T13:43:13Z | |
dc.date.available | 2023-12-14T13:43:13Z | |
dc.date.issued | 2014 | |
dc.date.issuedBE | 2557 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอบทแปลนวนิยายเรื่อง "เรื่องเท็จลำดับที่สาม" (Le Troisième Mensonge) ผลงานของอโกตา คริสตอฟ พร้อมบทวิเคราะห์ที่สะท้อนประเด็นปัญหาที่พบในระหว่างการทำงานแปลและแนวทางการแก้ไข ผู้แปลได้ใช้ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย (La Théorie interprétative de la traduction) ของสถาบันชั้นสูงด้านการแปลและการล่าม (École Supérieure d'Interprètes et de Traducteurs) หรือ สถาบัน E.S.I.T ในการสร้างสรรค์บทแปล เพื่อให้ได้บทแปลที่ถูกต้องทั้งด้านเนื้อหาและลีลาการประพันธ์ รวมทั้งส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อผู้อ่านได้เท่าเทียมกับต้นฉบับ วิทยานิพนธ์นี้เเบ่งเนื้อหาเป็น 2 ภาค ดังนี้ ภาค 1 ภาคการแปลประกอบด้วยต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสและบทแปลภาษาไทยที่ถ่ายทอดตามกระบวนการแปล 3 ขั้นตอนของสถาบัน E.S.I.T ได้แก่ การทำความเข้าใจต้นฉบับ (compréhension) การผละออกจากภาษาต้นฉบับ (déverbalisation) และการุ่ายทอดความหมายด้วยภาษาปลายทาง (réexpression) ภาค 2 ภาควิเคราะห์การแปล ประกอบด้วยการทำความเข้าใจต้นฉบับและการถ่ายทอดต้นฉบับสู่บทแปล ในขั้นตอนการทำความเข้าใจ ผู้แปลได้วิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์ เทคนิคการเล่าเรื่อง การสร้างฉาก การสร้างตัวละคร ส่วนในขั้นตอนการถ่ายทอด ผู้แปลเน้นถ่ายทอดชื่อเฉพาะที่เป็นชื่อตัวละคร ชื่อเกม ชื่อโรค/อาการป่วย ชื่ออาหาร ชื่อต้นไม้/ผลไม้/ดอกไม้ การถ่ายทอดวรรณศิลป์รูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วยอุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร บุคลาธิษฐาน กลวิธีการซ้ำคำต้นประโยค และการถ่ายทอดกลวิธีการใช้ประโยคคำถาม ประโยคอุทานและประโยคสั่งการ สุดท้ายเป็นบทสรุปที่ตอกย้ำให้ผู้อ่านตระหนักและเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนมอบความรัก ความใส่ใจและความห่วงใยให้แก่กันเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นในทุกครอบครัวโดยให้ครอบครัวของตัวละครเอกของเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ทั้งนี้เพื่อสุดท้ายแล้วทุกครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน | |
dc.description.abstract | This thesis presents a translation of a novel entitled "Le Troisième Mensonge" composed by Agota Kristof and an accompanying analysis which reflects on the problems found during the translation and methods of solving them. The translation is based on E.S.IT (École Supérieure d'Interprètes et de Traducteurs) translation methodology in order to obtain a Thai translated version that is identical to the original text in terms of content, style and effect. The thesis consists of two parts. Part I: The translation part includes the original text and the translation from French to Thai of "Le Troisième Mensonge" based on E.S.I.T translation theory with three phases: comprehension, deverbalization and re-expression. Part Il: The translation analysis part comprises two levels. At the level of comprehension, the analysis focuses on stylistic techniques, narration techniques and the creation of scenes and characters. At the level of re-expression, the analysis emphasizes the specific names of the characters, games, diseases/symptoms, food, trees, fruits and flowers and the arts of rhetoric: comparison, metaphor, personification, anaphor and sentences of question, exclamation and order. Lastly, the conclusion encourages the readers to recognize the importance of the family, support everyone in giving each other love and taking care of each other in order to create good relationship in all families by using the family of the primary characters as illustrations so that they will finally live happily. | en |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/71 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Thammasat University | |
dc.subject | การแปล | |
dc.subject | นวนิยาย | |
dc.subject | Translation | |
dc.subject | Novel | |
dc.subject | Agota Kristof | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | บทแปลเรื่อง “เรื่องเท็จลำดับที่สาม” ของ อโกตา คริสตอฟ พร้อมบทวิเคราะห์ | |
dc.title.alternative | Translation and analysis of “Le Troisème Mensonge” by Agota Kristof | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (Master Thesis) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.researchArea | การแปลภาษาฝรั่งเศส | |
harrt.researchGroup | ภาษาฝรั่งเศส | |
harrt.researchTheme.1 | การแปลวรรณกรรม | |
mods.location.url | https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/ | |
oaire.citation.endPage | 335 | |
oaire.citation.startPage | 1 | |
thesis.degree.department | คณะศิลปศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | ธรรมศาสตร์ | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |