Publication: การขยายความหมายของคำว่า骨ในคังโยขุภาษาญี่ปุ่น: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน
dc.contributor.author | สวันนีย์ โพธิ์นิ่มแดง | |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:27:07Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:27:07Z | |
dc.date.issued | 2019 | |
dc.date.issuedBE | 2562 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาการขยายความหมายของคำว่า骨 “กระดูก” ที่ปรากฏในคังโยขุภาษาญี่ปุ่นตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน (cognitive semantics) จากการรวบรวมข้อมูล พบคังโยขุที่ใช้คำว่า骨ทั้งสิ้น 14 สำนวน ผลการศึกษาพบว่า骨 แสดงความหมายทั้งสิ้น 10 ความหมาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) ความหมายต้นแบบ 1 ความหมาย คือ “กระดูก” (2) ความหมายขยายที่เกิดจากอุปลักษณ์ 3 ความหมาย คือ “ระดับมาก” “แก่น หลัก” “ความมุ่งมั่น ความคิดยืนกราน” (3) ความหมายขยายที่เกิดจากนามนัย 6 ความหมาย คือ “คน ร่างที่มีชีวิต (ทั้งกายและใจ)” “ศพ” “อัฐิ” “เรื่องที่รอการสะสาง” “ความผอม” “ความขาดแคลน” จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางความหมายพบว่า ความหมายขยายที่เกิดจากอุปลักษณ์ทั้ง 3 ความหมายมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความหมายต้นแบบของ骨ส่วนความหมายขยายที่เกิดจากนามนัยมีเพียงความหมาย “คน ร่างที่มีชีวิต (ทั้งกายและใจ)” เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความหมายต้นแบบของ骨 ส่วนความหมายอื่น ๆ เกิดการขยายความหมายจาก “คน ร่างที่มีชีวิต (ทั้งกายและใจ)” อีกที ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอรรถศาสตร์ปริชานสามารถอธิบายการขยายความหมายของ骨ได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถแสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นตอนของการขยายความหมายได้อย่างชัดเจน ตลอดจนสามารถอธิบายถึงกระบวนการทางปริชานที่อยู่เบื้องหลังการขยายความหมายได้ สุดท้ายผู้วิจัยยังได้เสนอแนะ แนวทางการประยุกต์ผลการศึกษาครั้งนี้ในการเรียนการสอนคังโยขุอีกด้วย | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/3089 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | ปรากฏการณ์พหุนัย | |
dc.subject | คำเรียกอวัยวะภายใน | |
dc.subject | สำนวนภาษาญี่ปุ่น | |
dc.subject | อุปลักษณ์ | |
dc.subject | นามนัย | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | การขยายความหมายของคำว่า骨ในคังโยขุภาษาญี่ปุ่น: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน | |
dc.title.alternative | Semantic Extension of HONE in Jananese Kanyouku: A Study from Cognitive Semantics Perspective | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 172 | |
harrt.researchArea | ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchGroup | ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchTheme.1 | หน่วยคำวิทยา (Morphology) | |
harrt.researchTheme.2 | ระดับคำ | |
mods.location.url | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/198493/138256 | |
oaire.citation.endPage | 101 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 89 | |
oaire.citation.title | วารสารญี่ปุ่นศึกษา | |
oaire.citation.title | Japanese Journal Studies | en |
oaire.citation.volume | 36 |