Publication: โอะคุริงะนะในคำกริยาภาษาญี่ปุ่นรูปพจนานุกรม
dc.contributor.author | นฤมล ลี้ปิยะชาติ | |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:26:10Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:26:10Z | |
dc.date.issued | 2013 | |
dc.date.issuedBE | 2556 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาคำกริยารูปพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรคันจิและลงท้ายด้วยโอะคุริงะว่า มีจำนวนคำเท่าใด โดยแบ่งตามกลุ่มที่มีเสียงท้ายเหมือนกัน ศึกษาลักษณะและจำนวนพยางค์ของโอะคุริงะนะ และศึกษารูปลักษณะเฉพาะของโอะคุริงะนะในคำกริยาประเภทอกรรมกริยาและสกรรมกริยา จากพจนานุกรมที่ใช้ในงานวิจัยมีทั้งหมด 4,793 คำ พบว่า คำกริยาในโครงสร้างแบบที่ 5 ซึ่งเป็นลักษณะของคำประสมมีจำนวนมากที่สุด 2,251 คำ รองลงมาเป็นคำกริยาในโครงสร้างแบบที่ 1 ซึ่งมีลักษณะของคำประสมมีจำนวนมากที่สุด 2,251 คำ อันดับที่สามเป็นคำกริยาในโครงสร้างแบบที่ 4 ซึ่งเป็นคำที่ประกอบขึ้นด้วยอักษรคันจิสองตัวตามด้วยโอะคุริงะนะ มี 489 คำ ในกลุ่มคำกริยาที่แบ่งตามเสียงท้ายคำกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กลุ่มที่ลงท้ายกด้วยเสียง/-eru/ ที่มีจำนวน 1,392 คำ กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ลงท้ายด้วย る ru มีจำนวน 1,098 คำ กลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ลงท้ายด้วย す su มีจำนวน 917 คำ กลุ่มที่ลงท้ายด้วย つ tsu, ぐ gu และ ぶ bu มีไม่ถึง 100 คำ และกลุ่มที่ลงท้ายด้วย ぬ nu มีเพียงสองคำ ในเรื่องลักษณะและจำนวนพยางค์ของโอะคุริงะนะพบว่า คำกริยาประเภทที่ 1 มีโอะคุริงะนะได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5 พยางค์ โอะคุริงะนะ 1 พยางค์เกิดได้ในทุกกลุ่มเสียง คำกริยาประเภทที่ 2 มีจำนวน 3 ถึง 5 พยางค์ คำกริยาประเภทที่ 3 มะโอะคุริงะนะมากที่สุดเพียง 2 พยางค์ คำกริยาประเภทที่ 4 และ 5 มีโอะริคุริงะนะได้ตั้งแต่ 1 ถึง 4 พยางค์โออะคุริงะนะ 1 พยางค์เกิดได้ในทุกกลุ่มเสียง ในเรื่องลักษณะเฉพาะของโอะคุริงะนะในคำกริยาประเภทอกรรมกริยาและสกรรมกริยาพบว่า ไม่สามารถจะสร้างกฎที่แน่นอนเพื่ออธิบายได้ว่า เมื่อคำกริยาในรูปอกรรมกริยามีรูปแบบของโอะคุริงะนะเช่นนี้ คำกริยารูปสกรรมกริยาจะมีรูปแบบโอะคุริงะนะเช่นไร เพียงแต่อาจแบ่บกว้างๆ ได้ 3 แบบ คือเมื่ออกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียง /-u/ สกรรมกริยาจะลงท้ายด้วย す - su อกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียง /-u/ สกรรมกริยาจะลงท้ายด้วยเสียง -/e/ru และอกรรมกริยาลงท้ายด้วยเสียง -/e/ru สกรรมกริยาจะลงท้ายด้วยเสียง /-u/ | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/3048 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | โอะคุริงะนะ | |
dc.subject | คำกริยาภาษาญี่ปุ่นรูปพจนานุกรม | |
dc.subject.isced | 0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์ | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | โอะคุริงะนะในคำกริยาภาษาญี่ปุ่นรูปพจนานุกรม | |
dc.title.alternative | Okurigana in Japanese Verbs Appearing in Dictioary Form | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 50 | |
harrt.researchArea | ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchGroup | ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchTheme.1 | หน่วยคำวิทยา (Morphology) | |
harrt.researchTheme.2 | ระดับคำ | |
mods.location.url | http://ojslib3.buu.in.th/index.php/huso2/article/view/2585 | |
oaire.citation.endPage | 22 | |
oaire.citation.issue | 35 | |
oaire.citation.startPage | 1 | |
oaire.citation.title | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
oaire.citation.title | Academic Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University | en |
oaire.citation.volume | 21 |