Publication:
การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมืองในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7: พระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พุทธศักราช 2469

dc.contributor.authorเปี่ยมสุข สนิท
dc.contributor.authorPeamsook Saniten
dc.contributor.editorพินัย สิริเกียรติกุล
dc.contributor.editorPinai Sirikiatikulen
dc.coverage.temporal1926-1932
dc.date.accessioned2023-12-16T09:09:20Z
dc.date.available2023-12-16T09:09:20Z
dc.date.issued2021
dc.date.issuedBE2564
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมืองในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พุทธศักราช 2469 เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่หัวหินเพราะมีการตั้งบ้านเรือนอย่างหนาแน่น ประกอบกับการเติบโตอย่างมากด้านการท่องเที่ยวภายหลังการเปิดเดินรถไฟระหว่างประเทศ นำไปสู่การจัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในพื้นที่บริหารของสภาฯ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชะอำลงไปถึงหัวหิน เพื่อพัฒนาบริเวณแถบนี้ให้เป็นสถานที่ตากอากาศที่สมบูรณ์แบบ มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โรงเรียน สถานพยาบาล ฯลฯ งานวิจัยต้องการวิเคราะห์การดำเนินการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกตามหลักการสากล ผลการศึกษาพบว่า การจัดตั้งสภาฯ นับเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญในด้านการบริหารจัดการเมืองแบบสมัยใหม่ มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาทำหน้าที่วางแผน วางผังและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเมือง อย่างไรก็ดีการดำเนินการของสภาฯ ไม่ได้มีลักษณะเป็น “การปกครองส่วนท้องถิ่น” ตามหลักการเดียวกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ในโลกตะวันตก เนื่องจากกรรมการสภาฯ ทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งตัวแทนจากส่วนกลางแทนการแต่งตั้งจากผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสภาฯ รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าการผังเมืองเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเทศบาล นอกเหนือจากการเก็บภาษีทรัพย์สินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองแล้วยังมีการจัดเก็บค่าบำรุงถนน สอดคล้องกับแนวคิดที่ยึดหลักการผู้รับประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary-pays principle) เป็นหลักการเดียวกับการพัฒนาทางด่วนซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนั้น เนื่องจากชะอำ-หัวหิน เป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศแบบสมัยใหม่ที่เจริญที่สุดในสมัยนั้น การดำเนินการทั้งหมดของสภาฯ จึงนับเป็นวิวัฒนาการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่สำคัญของประเทศไทย
dc.description.abstractThe purpose of this study aims to investigate the evolution of infrastructure development for urban planning during the reign of King Prajadhipok (Rama VII) under the Western Seaside Resort Development Act B.E. 2469. The important factors that led to the establishment of the Western Seaside Resort Development Council were: (1) shortage of clean water due to the residential density in Hua Hinen
dc.description.abstractand (2) tourism’s rapid growth after the operation of the southern railway passed through and linked to the international railways. The council was initially set up as a form of local government and functioned as a legal entity with its roles to manage infrastructure within their management area from the main Cha-am to Hua Hin. The council intended to develop Hua Hin to a leading international seaside resort town. Its projects involved infrastructure such as roads construction, electricity, water supply, school and hospital. Therefore, this study would like to analyze the operation of the council based on the international standards. The findings reveal that the establishment of the council was a breakthrough evolution in modern urban planning since it was set up for infrastructure and town planning projects in Thailand. However, the operation could not be defined as the concept of municipality and local government existed in other western countries as all council committees were elected by the central government instead of the local resident. King Prajadhipok had foreseen that the urban planning is part of the municipality. In addition to the collection of a property tax for infrastructure development, there was a local road tax. These taxes were coherent with the concept of Beneficiary-pays principle which is the same principle used in the expressway development project nowadays. However, this principle was ahead of its time as a modern infrastructure like this has not yet been established in Thailand at that time. In conclusion, Cha-am and Hua Hin was known for the most modern resort destination of that time in which the operation run by the council was also recognized as the most outstanding evolution of infrastructure development in Thailand.en
dc.identifier.issn2697-4665
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/7467
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
dc.subjectโครงสร้างพื้นฐาน
dc.subjectเทศบาล
dc.subjectรัชกาลที่ 7
dc.subjectพระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พุทธศักราช 2469
dc.subjectสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก
dc.subjectInfrastructure
dc.subjectMunicipality
dc.subjectKing Prajadhipok (Rama Vii)
dc.subjectWestern Seaside Resort Development Act 1926
dc.subjectWestern Seaside Resort Development Council
dc.subject.isced0222 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.subject.oecd6.1 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
dc.titleการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมืองในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7: พระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พุทธศักราช 2469
dc.title.alternativeInfrastructure Plan for Urban Development during King Rama VII’s Reign: Western Seaside Resorts Development Act 1926en
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID597
harrt.researchAreaประวัติศาสตร์
harrt.researchGroupประวัติศาสตร์
harrt.researchTheme.1ประวัติศาสตร์ไทย
harrt.researchTheme.2ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA/article/view/252558/171384
oaire.citation.endPage71
oaire.citation.issue1
oaire.citation.startPage42
oaire.citation.titleวารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม
oaire.citation.titleNAJUA: Architecture, Design and Built Environmenten
oaire.citation.volume18
Files