Publication: อาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพ
dc.contributor.author | ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ | |
dc.contributor.author | ยูมิโกะ ยามาโมโตะ | |
dc.contributor.author | Yamamoto, Yumiko | en |
dc.contributor.author | Methapisit, Tasanee | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-15T10:23:38Z | |
dc.date.available | 2023-12-15T10:23:38Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.date.issuedBE | 2561 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวโน้มอาชีพของนักศึกษาเอกวิชาภาษาญี่ปุ่น และ2) เพื่อศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพของผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่น วิธีวิจัยสำหรับการศึกษาสภาพปัจจุบันเป็นการวิจัยค้นคว้าจากเอกสาร และการศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพของนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงสำรวจผ่านการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรม“อนาคตของฉันวันข้างหน้า” 2) กิจกรรม “ประวัติส่วนตัวเพื่อการวางแผนเส้นทางอาชีพ” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกสาขาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวน 74 คนในมหาวิทยาลัยของรัฐ วิเคราะห์และประมวลผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต สอบถามความเห็น และสรุปผลเชิงพรรณนาโวหาร ผลการศึกษาพบว่ามีความต้องการผู้รู้ภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัยและนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เปิดรับแรงงานต่างชาติ อาชีพที่ผู้รู้ภาษาญี่ปุ่นชาวต่างชาติทำ 3 ลำดับแรกคือ นักแปลและล่าม พนักงานขายและการตลาด และ ผู้ประสานงานต่างประเทศ และทักษะที่จำเป็น 3 ลำดับแรกสำหรับนักศึกษาสายศิลป์ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นและความร่วมมือ สำหรับความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพนั้น ในกิจกรรม “อนาคตของฉันวันข้างหน้า” กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 55 ต้องการทำงานเพื่อให้สามารถมีโอกาสไปทำงานอดิเรกหรือสิ่งที่ชอบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวางแผนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อไปสู่ความสำเร็จในจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ สำหรับกิจกรรม “ประวัติส่วนตัวเพื่อการวางแผนเส้นทางอาชีพ” พบว่า นักศึกษาเข้าใจความต้องการของตนเองแต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์จุดแข็งของตนเองที่เชื่อมโยงสู่เส้นทางอาชีพและยังไม่มีแผนพัฒนาตนเองว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไปสู่เส้นทางอาชีพที่ต้องการ กล่าวคือ ความต้องการของตลาดแรงงานกับความคาดหวังของนักศึกษาผู้รู้ภาษาญี่ปุนไม่ตรงกัน ดังนั้นในการผลิตบัณฑิต ผู้สอนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักตนเองมากยิ่งขึ้นและพัฒนากระบวนการทางความคิด (mindset) ของผู้เรียนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลพูดคุยกับผู้อื่น และมีการวางแผนปฏิบัติเชิงรุกที่สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อให้การศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง | |
dc.identifier.uri | https://harrt.in.th/handle/123456789/2918 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | ทรัพยากรบุคคลระดับสากล | |
dc.subject | ความพร้อมสู่อาชีพ;การรู้จักตนเอง | |
dc.subject | การพูดคุย | |
dc.subject | แผนพัฒนาตนเอง | |
dc.subject.isced | 0231 การเรียนภาษา | |
dc.subject.oecd | 6.2 ภาษาและวรรณคดี | |
dc.title | อาชีพสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพ | |
dc.title.alternative | Careers for Japanese Majors and Career Readiness: | en |
dc.type | บทความวารสาร (Journal Article) | |
dspace.entity.type | Publication | |
harrt.itemID | 133 | |
harrt.researchArea | การสอนภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchGroup | ภาษาญี่ปุ่น | |
harrt.researchTheme.1 | การเรียนการสอนภาษา (Language Teaching) | |
harrt.researchTheme.2 | ความต้องการของสังคม | |
mods.location.url | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn/article/view/158802/118665 | |
oaire.citation.endPage | 233 | |
oaire.citation.issue | 1 | |
oaire.citation.startPage | 219 | |
oaire.citation.title | วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา | |
oaire.citation.title | JSN Journal | en |
oaire.citation.volume | 8 |