Publication:
เมื่อธัญญาหารถูกผลาญสิ้น: อ่านโรคระบาดไวรัสและหายนภัยธรรมชาติในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง เดอะเดธออฟกราส (The Death of Grass)

dc.contributor.authorชัยยนต์ ทองสุขแก้ง
dc.contributor.authorTongsukkaeng, Chaiyonen
dc.coverage.temporal1956-1956
dc.date.accessioned2023-12-14T17:14:20Z
dc.date.available2023-12-14T17:14:20Z
dc.date.issued2020
dc.date.issuedBE2563
dc.description.abstractบทความนี้มุ่งศึกษาจินตนาการพิบัติภัยธรรมชาติในนวนิยายวิทยาศาสตร์เพื่อสำรวจองค์ประกอบของการสร้างวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ในสถานการณ์ภัยพิบัติอันยากแก่การควบคุม เมื่อมนุษย์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องแก่งแย่งทรัพยากรอาหารเพื่อเอาตัวรอดในนวนิยายเรื่องเดอะเดธออฟกราส (The Death of Grass) โดยจอห์น คริสโตเฟอร์ผู้เขียนจินตนาการสร้างภาพภูมิทัศน์อันเลวร้าย สภาพโรคระบาดไวรัสที่เกิดในธัญพืชที่สิ่งผลต่อการอยู่รอดของสังคมมนุษย์อย่างน่าสะพรึงกลัว โดยผู้เขียนบทความนี้มุ่งพินิจการนำเสนอแนวคิดความกลัวต่อระบบนิเวศ (Ecophobia)ของ Simon Estok (2009) อันเป็นผลกระทบจากภาวะคุกคามของไวรัสล้วนสะท้อนความคิดเชิงนิเวศของผู้เขียนจอห์น คริสโตเฟอร์เอง โดยเฉพาะในยุคที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Anthropocene) ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือมองตนเองเป็นศูนย์กลางสรรพสิ่งโดยหลงลืมจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมไป ผู้เขียนบทความตั้งข้อสังเกต 2 ประการคือ ประการแรก ภาพหายนภัยธรรมชาติและความกลัวต่อระบบนิเวศ (Ecophobia) ในวรรณกรรมเป็นตัวแทนของภาพวันสิ้นโลก (Apocalypse) ในวัฒนธรรมตะวันตกผ่านสถานการณ์ไวรัสระบาดที่ผลาญธัญญาหารสิ้นได้อย่างไร ประการที่สอง ผู้เขียนมีแนวคิดหรือวิพากษ์กระแสสำนึกเชิงนิเวศหรือจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental ethics) ผ่านการสร้างโครงเรื่องภัยธรรมชาติโดยอาศัยข้อมูลหรือจินตนาการทางวิทยาศาสตร์อันนำไปสู่ข้อคิดหรือแม้กระทั่งเรียกได้ว่างานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนประเภทวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ Ecocriticism ได้หรือไม่
dc.description.abstractThis paper examines the imagination of natural disaster in a science fiction (SF) in order to explore the elements and the representation of uncontrollable natural catastrophe when human beings struggle for food supplies to survive in The Death of Grass. John Christopher imagines the horrifying landscape of virus attack on grain crops which has a great impact on our society with a sense of fear. In this study, Simon Estok’s idea of “ecophobia” (2009) is discussed in relation to the viral pandemic as a threat to humans and this study attempts to reveal Christopher’s ecological consciousness. The novel setting is a focal point of the Anthropocene when humans become the center of exploitation and natural resources have been depleted without environmental ethics. This paper aims to; first, study the representations of the natural disaster and ecophobia in literature as an apocalyptic vision in western culture via the ravaging virus on grain crops. Second, it discusses the novelist’s ecological awareness and environmental ethics embedded in the plot of natural catastrophe based on facts and imagination of SF which can be regarded as ecocritical writing.en
dc.identifier.issn1513-461x (Print), 2630-0370 (Online)
dc.identifier.urihttps://harrt.in.th/handle/123456789/1662
dc.language.isoth
dc.subjectScience Fiction
dc.subjectNatural Disaster
dc.subjectApocalypse
dc.subjectEcophobia
dc.subjectEnvironmental Ethics
dc.subject.isced0232 วรรณคดีและภาษาศาสตร์
dc.subject.oecd6.2 ภาษาและวรรณคดี
dc.titleเมื่อธัญญาหารถูกผลาญสิ้น: อ่านโรคระบาดไวรัสและหายนภัยธรรมชาติในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง เดอะเดธออฟกราส (The Death of Grass)
dc.title.alternativeWhen Grasses and Grains Were Ravaged: Reading the Viral Pandamic and Natural Disaster in Science Fiction, The Death of Grassen
dc.typeบทความวารสาร (Journal Article)
dspace.entity.typePublication
harrt.itemID109
harrt.researchAreaวรรณกรรมอังกฤษ
harrt.researchGroupภาษาอังกฤษ
harrt.researchTheme.1วิเคราะห์วรรณกรรม/วรรณคดี
harrt.researchTheme.2นวนิยาย
mods.location.urlhttps://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/242456
oaire.citation.endPage234
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage214
oaire.citation.titleJournal of Human Sciences
oaire.citation.titleมนุษยศาสตร์สารth
oaire.citation.volume21
Files