วรรณกรรม/วรรณคดีอังกฤษ

Permanent URI for this collection

บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือด้านวิเคราะห์วรรณกรรม วรรณกรรมเปรียบเทียบ การแปลวรรณกรรม และการสอนด้านวรรณกรรม

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 249
No Thumbnail Available
Publication

Should a Book Be Judged by its Back Cover? Some Written/Formal Features as Observed in Happily-Ever-After Women’s Novel Blurbs

Pupipat, Apisak (2023)

This study examined written/formal register based on happily-ever-after women’s fiction conventional blurbs. In particular, the 80 blurbs were equally divided into two types: the classic and mass-marketed. Biber et al. (2021) was used as the framework to extract features to respond to the two research questions: What were the top written/formal features among the classic and mass-marketed happily-ever-after women’s novel blurbs? And, which blurb type displayed more resemblance to written/formal register? The functional framework comprised three main groups of features: The passives, adjectivals and adverbials. Results revealed that the first two showed a strong tendency towards written/formal register while the last seemed to show the opposite but was taken here to be in-between features, corresponding to fiction language. The top written/formal features based on the two types of blurbs were the passives (both the full and reduced forms) (26%), full relative clauses (23%), full adverbial clauses (20%) and attributives (13%). The blurb type that seemed inclined towards written/formal nature more was the classic, as substantiated by five salient features: the passives, attributives, -en adjectivals, -ing adverbials and -en adverbials. It is believed that discourse analysts and ESL/EFL teachers can pay more attention to these useful syntactic features, particularly the full and reduced forms, as ways to compress information in formal writing.

No Thumbnail Available
Publication

การตระหนักรู้คุณค่าของชีวิตในโลกหลังความตายของตัวละครเอกชายในนวนิยายเรื่อง ขอเพียงอีกวัน (For One More Day)

กัลยรักษ์ หมั่นหาดี, Manhadee, Kanyaruk (2022)

บทความนี้ศึกษานวนิยายเรื่อง ขอเพียงอีกวัน (For One More Day, 2006) ประพันธ์โดย มิตซ์ อัลบอม ในแง่มุมของการวิเคราะห์ปัญหาทางจิตใจของตัวละครเอกชาย อันเนื่องมาจากสังคมแบบปิตาธิปไตยที่ส่งผ่านความสำเร็จแบบชายผ่านสถาบันครอบครัว จนเกิดการหาทางออกในแนวทางจิตวิญาณที่เน้นคุณค่าของผู้หญิงในด้านความอ่อนโยน ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นว่ามีส่วนช่วยคลี่คลายการอยากทำอัตวิบาตกรรมของตัวละครเอกชายได้ ในตัวบทนำเสนอว่าอำนาจปิตาธิปไตยถูกส่งผ่านพ่อ โดยพ่อที่ยึดติดกับความสำเร็จทางวัตถุส่งผลให้ลูกมีปัญหาทางด้านจิตใจเมื่อไม่สามารถรักษาความสำเร็จและชื่อเสียงไว้ได้ จนต้องทำอัตวินิบาตกรรม ผู้ประพันธ์จึงนำเสนอให้ตัวละครเอกเดินทางผ่านประสบการณ์เฉียดตาย ในพื้นที่แห่งนี้นำเสนอข้อจำกัดของการมองโลกที่ให้คุณค่ากับวัตถุ ทรัพย์สินภายนอก และนำเสนอทางออกด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองการใช้ชีวิต ให้ตัวละครเอกได้ทบทวนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและเห็นคุณค่าของชีวิตในด้านการหาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตในแนวทางจิตวิญญาณ เมื่อผ่านประสบการณ์เฉียดตายและกลับมาสู่โลกความจริงตัวละครเอกจึงสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ เปลี่ยนใจไม่ทำอัตวินิบาตกรรม

No Thumbnail Available
Publication

การเล่าเรื่องข้ามสื่อของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล

ต่อสกุล ถิระพัฒน์, Thirapatana, Torsakul (2022)

บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบความสำเร็จของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล (Marvel Cinematic Universe) ที่เกิดขึ้นมาจากการใช้การเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia storytelling) โดยศึกษาจากภาพยนตร์และภาพยนตร์สั้นของมาร์เวลสตูดิโอรวมถึงศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลประกอบด้วยภาพยนตร์ที่ถือว่าเป็นเรื่องหลัก และเล่าเรื่องข้ามสื่อโดยใช้สื่ออีกสี่รูปแบบ ได้แก่ 1) การใช้ post-credits scenes 2) ภาพยนตร์สั้นที่เรียกว่า Marvel One- Shots 3) รายการละครทางโทรทัศน์ (Marvel Series) และ 4) หนังสือการ์ตูน Marvel Prelude โดยการเล่าเรื่องในสื่ออื่น ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเรื่องระหว่างภาพยนตร์และขยายบทบาทตัวละครรองในภาพยนตร์หลัก บทความนี้ยังเสนอว่ากลยุทธ์การเล่าเรื่องข้ามสื่อนี้ส่งผลไปสู่การสร้างความเข้าใจเรื่องราวที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ชมและช่วยเพิ่มรายได้ในการฉายภาพยนตร์ด้วย

No Thumbnail Available
Publication

กลวิธีการแปลนิทานสองภาษา ไทย-อังกฤษ

เสาวณี ทับเพชร, อติเทพ ตาวัน (2022)

บทความวิจัยเรื่อง “กลวิธีการแปลวรรณกรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโวหารภาพพจน์จากนิทานสำหรับเด็ก จำนวน 3 เรื่อง ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษจากนิทานสำหรับเด็ก นิทาน 2 ภาษาไทย - อังกฤษ 1. ก๊วนเพื่อดิสนีย์บุกปราสาท แฟรงเกนสไตน์ 2. สี่ดรุณีจอมซนแห่งโลกดิสนีย์ 3. ผจญแดร็กคูลา ราชาผีดูดเลือด ผลการวิจัยพบว่ามีการใช้โวหารภาพพจน์หลัก 3 ประเภท โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ 1. อุปมาอุปไมย (Simile) 2. อุปลักษณ์ (Metaphor)และ 3. บุคลาธิษฐาน (Personification) กลวิธีที่ใช้ในการแปลโวหารภาพพจน์ส่วนใหญ่จะรักษาโวหารไว้ให้คล้ายคลึงต้นฉบับมากที่สุด มีเพียงบางกรณีที่โวหารเปลี่ยนรูปไปแต่ยังคงภาพพจน์ไว้ได้เหมือนเดิม นับว่าเป็นการรักษาความเท่าเทียมไว้ได้ในระดับดีผู้วิจัยได้แสดงทัศนะผ่านข้อเสนอแนะสองส่วน ในส่วนแรกเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านและการแปลวรรณกรรมออกสู่สากล และในส่วนที่สองนั้นเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

No Thumbnail Available
Publication

ถึงร้าย...ก็ไม่เลว: ภาพสะท้อนความสุขผ่านตัวละครวายร้ายในคติชนสมัยใหม่

ณัฐภัทร์ สุรินทร์วงศ์, นิศา บูรณภวังค์, Suri, Nuttapat, Buranapawang, Nisa (2022)

บทความวิชาการนี้ นำเสนอวายร้ายในมุมของวีรบุรุษจากการชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ 2 เรื่อง คือเรื่อง วเร็ค อิท ราล์ฟ ดำเนินการสร้างโดยวอลท์ดิสนีย์และเรื่อง ยักษ์ ดำเนินการสร้างโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ พิคเจอร์ส การวิเคราะห์ตัวละครวายร้ายที่รับบทเป็นตัวเอกของเรื่องเพื่อสะท้อนภาพความสุขของวายร้ายในสิ่งที่เขาเป็นและโลกที่เขาดำรงอยู่ ความเหมือนคล้ายและแตกต่างของตัวละครวายร้ายในการทำตามหน้าที่ ความเข้าใจในชีวิตและการยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็น ทั้งหมดถูกผูกโยงเข้ากับมิตรภาพและการเรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงตามบริบทของสังคมวัฒนธรรมซึ่งถูกนำเสนอในรูปแบบคติชนสมัยใหม่ บทความวิชาการฉบับนี้ผู้เขียนวิเคราะห์และอธิบายตัวละครวายร้ายที่รับบทเป็นตัวเอกผ่านทฤษฎีอาร์คีไทพ์ในมุมมองคติชนวิทยา