ประวัติศาสตร์ในด้านอื่นๆ
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างมุสลิมซุนนีย์กับมุสลิมชีอะหฺ : ศึกษาประวัติศาสตร์และมุมมองนักวิชาการวะสะฏียะฮจากกลุ่มซุนนีย์และชีอะหฺในโลกปัจจุบัน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ประเภท และหลักความเชื่อของกลุ่มอะฮฺ ลิสซุนนะฮฺและชีอะห์ที่โดดเด่นในโลกปัจจุบัน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างซุนนะฮฺและ ชีอะห์ และศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการซุนนีย์และชีอะห์ในโลกปัจจุบันเกี่ยวกับความต่างระหว่าง อะฮฺลิซ-ซุนนะฮฺและชีอะห์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากนั้นเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เป็นนักวิชาการซุนนีย์และชีอะห์ จาก 4 ประเทศ ประกอบด้วยไทย อินโดนิ เซีย คูเวต และ กาตาร์ รวมทั้งสิน 26 ท่าน จากนั้นน าข้อมูลมาท าการวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบ เหตุการณ์และตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า อะฮฺลิซ-ซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ คือกลุ่มมุสลิมส่วนใหญ่ที่ยึดถือแนวทางของ ท่านนบี บรรดาศอหาบะฮฺ และตาบีอีน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในยุคสมัยราชวงศ์อุมาวียะฮฺและอับ บาซียะฮฺ กลุ่มอะฮฺลิซ-ซุนนะฮฺ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เน้นหลักการศรัทธา(อากีดะฮฺ) กลุ่มที่ เน้นหลักการปฏิบัติ(ฟิกฮฺ) และกลุ่มที่เน้นหลักการรายงานหะดีษ(รุว้าต) ส่วนชีอะห์ คือกลุ่มที่สนับสนุน และเชื่อว่าอะลี บิน อะบี ฏอลิบ และลูกหลานของท่านมีสิทธิในการเป็นผู้น าสูงสุดแก่มุสลิม ซึ่งความเชื่อนี้ มีมาตั้งแต่สมัยของท่านนบี(ซ.) แต่ชีอะห์ที่เป็นรูปธรรมที่มีแนวคิดและแนวปฏิบัติเฉพาะเกิดขึ้นหลังจากหุ เซน บิน อะลี ถูกสังหาร ส่วนประเภทของชีอะห์มีมากถึง 73 กลุ่มย่อย จาก 5 กลุ่มใหญ่ คือ อัล-กัยซานี ยะฮ อัซ-ซัยดียะฮ อัล-อิมามียะฮ อัล-ฆอลียะฮ และอัล-อิสมาอีลียะฮ ส่วนความแตกต่างระหว่างอะฮฺลิซ-ซุนนะฮฺกับชีอะห์ พบว่า หลักการศรัทธาของอะฮฺลิซ-ซุนนะฮฺ เรียกว่า“รูก่นอีหม่าน” มี6 ประการ ส่วนชีอะห์เรียกว่า “อุศูลุ้ดดีน” มี 5 ประการ หลักศรัทธาส าคัญที่ แตกต่างคือ เรื่อง “ผู้น าสูงสุด”(อัลอีมามะฮฺ) หลักศรัทธาอื่นๆแตกต่างที่ชื่อเรียกและประเด็นปลีกย่อย เกี่ยวกับหลักปฏิบัติ อะฮฺลิซ-ซุนนะฮฺเรียกว่า“รูก่นอิสลาม”มี 5 ประการ ส่วนชีอะห์ เรียกว่า“ฟุรูอุ้ดดีน” มี 10 ประการ หลักปฏิบัติที่เหมือนกันคือ ละหมาด ซะกาต ฮัจญ ซึ่ง 3 ข้อนี้แตกต่างกันเฉพาะ ข้อปลีกย่อย ส่วนหลักปฏิบัติที่แตกต่างกัน คือ การกล่าวปฏิญาณตน(ชะฮาดะฮฺ)ไม่นับเป็นหลักปฏิบัติหรือ รูก่นอิสลามของชีอะห์แต่นับเป็น“ฏอรูรีย้าต”คือความจ าเป็นที่รับรู้กัน แต่ค าสรรเสริญต่อ อะลี บิน อะบีฏอลิบ ไม่ใช่ค าปฏิญาณเป็นเพียงค าเพิ่มที่ถูกอนุญาตเท่านั้น นอกจากนี้หลักปฏิบัติของชีอะห์ได้ก าหนด เพิ่ม อัลคุมส์(บริจาคทรัพย์แก่ผู้น าสูงสุด) อัลญิฮาด(ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ) อัลอัมรุบิลมะอฺรู้ฟ (ใช้ท า ความดี) อันนะฮยุอะนิลมุนกั้ร(ห้ามท าความชั่ว) อัตตะวัลลาอฺ(รักและเชื่อฟังผู้น า) และอัตตะบั้รรออฺ(ไม่ เชื่อฟังต่อผู้ปฏิเสธอิหม่าม)
การโจมตีด้วยโดรนสมัยโอบามา : ทัศนคติของชาวอเมริกัน และชาวโลก
บทความนี้มุ่งศึกษาทัศนะหรือความเห็นของชาวอเมริกันและชาวโลกต่อปฏิบัติการโจมตีทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนในช่วงการบริหารงานของประธานาธิบดีบารัค โอบามา (ค.ศ. 2009-2017) เนื่องจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศด้วยโดรน มีอัตราสูงขึ้นมากในช่วงรัฐบาลนี้ ซึ่งเป็นการดําเนินยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติในการต่อต้านการก่อการร้าย โดรนได้ถูกนํามาใช้ เป็นเครื่องมือสังหารเป้าหมาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ การขยายตัวของปฏิบัติ การโดรนได้สร้างความตื่นเต้นและก่อความกังวลให้แก่ผู้คนไปพร้อมๆ กัน องค์กรอิสระต่างๆ ได้เข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีปฏิบัติการ ทางอากาศของสหรัฐฯ เมื่อผลเสียหายข้างเคียงที่เกิดจากโดรนปรากฏให้เห็นมากขึ้นจนก่อความวิตกทั้งแก่องค์กรระหว่างประเทศ นานาชาติและแม้แต่ผู้คนในสหรัฐฯ เอง จึงเกิดการถกเถียงเกี่ยวกับการใช้โดรนโจมตี และการสํารวจความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะชาวอเมริกันเป็นระยะๆ เนื่องจากความคิดเห็นนี้ย่อมส่งผลต่อการกําหนดหรือปรับเปลี่ยนทิศทางของนโยบายการโจมตี ด้วยโดรนของรัฐบาลอเมริกัน จากการวิจัยพบว่าในช่วงรัฐบาลโอบามาซึ่งมีการใช้โดรนโจมตีมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนหน้า ชาวอเมริกันจํานวนมากยังคง ให้การสนับสนุนการใช้โดรนต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายในต่างประเทศต่อไปหลังจากที่พิจารณาความเสี่ยงต่างๆ แล้ว อย่างไรก็ดี ตัวเลข ผู้สนับสนุนขึ้นลงในช่วงการสํารวจที่ต่างกัน แต่จํานวนผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้มีแต่เพิ่มขึ้น ส่วนในด้านความเห็นของนานาชาติต่อ การใช้โดรนของสหรัฐฯ นั้น มีเสียงต่อต้านนโยบายนี้สูงมาก และมีการตรวจสอบโครงการโดรนของสหรัฐฯ เพื่อให้อยู่บนหลักการ มนุษยธรรมและความชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถึงแม้จะมีการสํารวจความคิดเห็นของสาธารณชนทั้งในและนอก สหรัฐฯ และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มากพอที่จะหยุดยั้งรัฐบาลโอบามาในการสั่งโจมตีเป้าหมายด้วยโดรน จนหมดวาระของรัฐบาล
การแข่งอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก ระหว่าง พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ. 2560 : ผลกระทบและข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย
งานวิจัยเรื่องการแข่งอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก ระหว่าง พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2560 : ผลกระทบและข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทีใช้เอกสารด้านยุทธศาสตร์ ความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นเอกสารหลัก รวมถึงมีการรวบรวมรายงานข่าวการเดินหมากของ สหรัฐอเมริกาและจีนในพื้นทีทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ เพื่อ บรรลุผลประโยชน์แห่งชาติตามทีกําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของทั-งสองรัฐ เน้นการศึกษาในช่วงประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์การวิจัย เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยห้าข้อ ประกอบด้วย (1) สหรัฐอเมริกาและจีนมีเป้าประสงค์อะไร ในการเดินหมากนโยบายต่างประเทศลักษณะต่าง ๆ ในพื้นทีแข่งอิทธิพล (2) การแข่งอิทธิพล/การเดินหมากตอบโต้สําคัญ ๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนในบริเวณทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกระหว่าง พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2560 ดำเนินไปในลักษณะใด (3) ในการเดินหมาก ตอบโต้กันระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ณ พื้นที ดังกล่าว มีปจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศใดบ้างที เป็นตัวผลักดันสําคัญ (4) การแข่งอิทธิพล/การเดินหมากตอบโต้ระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อดุลอํานาจโลก ต่อดุลอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และต่อประเทศไทยอย่างไร และ (5) ในสถานการณ์แข่งอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในอาณาบริเวณและห้วงเวลาดังกล่าว ไทยควรกำหนดแนวเดินนโยบายต่างประเทศลักษณะใดในห้วงอนาคตทีพอมองเห็นได้ เพื อปกป้อง/เพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งชาติให้ได้มากทีผลการศึกษาพบว่า ในขณะที่จีนพยายามสร้างฐานทีมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางการทหารในอาเซียน ทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก เพื่อบรรลุ “ความฝันจีน” สหรัฐอเมริกาก็มุ่งมั่นผูกขาดความเป็นหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งด้านการทหารและความมั่่นคงในบริเวณดังกล่าวเช่นกัน ภายใต้วัตถุประสงค์แห่งชาติและทัศนคติเช่นนี้ การแข่งขันอิทธิพลของทั้งสองฝ่ายจึงเป็นเรื่องยากหลีกเลี่ยง จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ชัดเจนว่า ในบริบทการสร้างอิทธิพลในบริเวณที่ศึกษาจีนภายใต้การนําของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงรุดหน้าไกลกว่าสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์พยายามฟื้นคืนอิทธิพลที่เสียไป ผ่านการเดินหมากมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ หากผลลัพธ์ยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมมากนัก ในอีกสมรภูมิหนึ่ง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์พยายามชักชวนประเทศไทยกลับไปอยู่ฝ่ายเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จากบทเรียน การเป็น “พันธมิตร” ร่วมต้านระบอบคอมมูนิสต์ของไทยและสหรัฐอเมริกาในช่วงก่อนหน้า ดูเหมือนว่า รัฐบาลทหารปัจจุบันของไทยตัดสินใจไม่ซ้ำรอยความผิดพลาดของรัฐบาลก่อน ๆ และเลือกดําเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวังเพื อธํารงสถานะ “สมดุล” ต่อมหาอํานาจ ดังหลักฐานจากแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติ 20 ปี ฉบับล่าสุด