การแปลภาษาจีน
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
อารมณ์ปรารถนากับจุดยืนแห่งอุดมการณ์ทางเพศ: กลวิธีการแปลบทสังวาสในนวนิยายเรื่อง เซี่ยงไฮ้เบบี้
บทสังวาสในวรรณกรรม ไม่เพียงเป็นเครื่องมือที่สะท้อนอารมณ์ปรารถนาและสุนทรียศาสตร์ แห่งกามรสของมนุษย์เท่านั้น หากยังแฝงไว้ซึ่งจุดยืนแห่งอุดมการณ์ทางเพศของผู้ประพันธ์อีกด้วย เมื่อวรรณกรรมนั้นได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ เพศสภาพและอุดมการณ์ของผู้แปลยังได้เข้ามามี ส่วนต่อรองกับพื้นที่การสร้างความชอบธรรมต่อจุดยืนดังกล่าวผ่านส านวนแปลเช่นกัน บทความวิจัยนี้ มุ่งศึกษาการแสดงจุดยืนแห่งอุดมการณ์ทางเพศ และการดัดแปลงส านวนต้นฉบับของผู้แปลผ่านกลวิธี การแปลบทสังวาส จากนวนิยายต้นฉบับเรื่อง เซี่ยงไฮ้เบบี้ของเว่ยฮุ่ย ร่วมกับบทแปลฉบับภาษาอังกฤษ โดยบรูซ ฮูมส์ ซึ่งแปลจากต้นฉบับภาษาจีน และบทแปลฉบับภาษาไทยโดยค า ผกา ซึ่งแปลมาจากส านวน ฉบับภาษาอังกฤษของบรูซ ฮูมส์อีกทอดหนึ่ง จากการศึกษาพบว่า ผู้แปลมีการดัดแปลงส านวนต้นฉบับผ่าน กลวิธีการตัด การแทนที่ การแปลบางส่วน การดัดแปลง การแปลเติมและการเกลื่อนค า ผลการวิจัย ยังสะท้อนให้เห็นว่า การเลือกดัดแปลงตัวบทของผู้แปล ปัจจัยหนึ่งอาจมาจากเพศและอุดมการณ์ของ ผู้แปลซึ่งควบคุมกลไกการสื่อความหมาย การตีความในบทสังวาส ทั้งยังกลายเป็นพื้นที่สร้างตัวตน การกดทับระหว่างบุรุษและสตรีเพศผ่านความงามของภาษาที่สื่ออารมณ์ปรารถนาของตัวละคร ขับเอา รสนิยม การร่วมรักและสุนทรีแห่งท่วงท่าออกมาให้เห็นอย่างเร่าร้อนและลุ่มลึก
การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ [มนุษย์คือสัตว์] ในนวนิยายจีนเรื่อง หงเกาเหลียง กับฉบับแปลไทยเรื่อง ตำนานทุ่งรักสีเพลิง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ 1) เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ [มนุษย์คือสัตว์] ในนวนิยายจีนเรื่อง หงเกาเหลียง และ 2) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลเป็นภาษาไทยในฉบับแปลไทยเรื่อง ตำนานรักทุ่งสีเพลิง จากการศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ [มนุษย์คือสัตว์] จำนวน 184 ตัวอย่าง พบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ดังนี้ [มนุษย์คือสัตว์สี่เท้า] [มนุษย์คือสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ] [มนุษย์คือสัตว์ปีก] และ [มนุษย์คือสัตว์เลื้อยคลานและแมลง] โดยมีการเชื่อมโยงมโนทัศน์ของสัตว์กับมนุษย์สี่ประการใหญ่ด้วยกัน ได้แก่ รูปร่างลักษณะและอากัปกิริยา ความสามารถ พฤติกรรมและนิสัยที่ดี และพฤติกรรมและนิสัยที่ไม่ดี จากการศึกษากลวิธีการแปลอุปลักษณ์ดังกล่าวนี้ในฉบับแปลไทยพบทั้งสิ้น 7 กลวิธี เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ การแปลเอาความ การแปลอุปลักษณ์ตรงความ การละไม่แปล การแปลอุปลักษณ์ตรงความแต่ลดข้อความบางส่วน การแทนที่ทางวัฒนธรรม การแปลอุปลักษณ์ตรงความร่วมกับการอธิบายหรือเสริมความ และการแปลอุปลักษณ์เดิมบางส่วน
“ยินเสียงแต่ไร้ความหมาย นัยที่หายไประหว่างการเดินทางของภาษา” กรณีศึกษาการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นด้านภาษาในการแปลชื่อตัวละครเอกจากนวนิยายซีไรต์เรื่อง “อมตะ”
บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาประเด็นการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นด้านภาษาของการแปลชื่อตัวละครหลักในนวนิยายซีไรต์เรื่อง “อมตะ” ของ วิมล ไทรนิ่มนวล จากภาษาไทยเป็นภาษาจีน โดยศึกษาจากชื่อตัวละคร พรหมินทร์ ธนบดินทร์, อรชุน ภควัท และ ชีวัน ซึ่งผู้ประพันธ์ใช้กลวิธีการอ้างถึง (allusion) ในการตั้งชื่อตัวละครหลัก เพื่อสื่อนัยเกี่ยวกับชีวิตและการดำรงอยู่ ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของความคลาดเคลื่อนในกระบวนการแปลที่ทำให้เกิดกรณีการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นทางด้านภาษา เกิดจากการที่ผู้แปลตีความบริบทของชื่อตัวละครไม่ครบถ้วน ทำให้ชื่อของตัวละครในภาษาจีนที่แปลด้วยการทับศัพท์เสียงไม่สามารถสื่อความถึงนัยเกี่ยวกับชีวิตและการดำรงอยู่ที่ผู้ประพันธ์แฝงไว้ และเชิงอรรถที่ใส่เพื่ออธิบายก็ตีความตามพจนานุกรม ไม่ได้ตีความตามบริบทที่ผู้ประพันธ์อ้างอิงถึง สาเหตุของการแปลคลาดเคลื่อนในบริบทนี้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยมีตัวแปรเหตุ X1 การตีความบริบทคลาดเคลื่อนทำให้เกิดตัวแปรผล X2 ตัวอักษรจีนที่ใช้ไม่สื่อความถึงนัยแฝง เมื่อนำแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการแปลของ บุรินทร์ ศรีสมถวิล วัลยาวิวัฒน์ศร กนกพร นุ่มทอง และ Pei Xiaorui มาทำเป็นโมเดลเพื่อใช้ในกระบวนการแปล จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวแปร X1 และ ตัวแปร X2 ในเชิงจุลภาคตามบริบทนี้ได้ และอาจแก้ไขปัญหาการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นด้านภาษาในการแปลเชิงมหภาคระหว่างภาษาไทยและภาษาจีนได้
การศึกษารูปแบบการแปลชื่อภาพยนตร์จีนแนวสิ่งลี้ลับที่ฉายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 – 2013
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแปลชื่อภาพยนตร์จีนแนวสิ่งลี้ลับที่ฉายในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 – 2013 ใช้วิธีศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ชื่อภาพยนตร์ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ จำนวน 63 เรื่อง โดยยึดชื่อภาษาจีนต้นฉบับและชื่อภาษาไทยเป็นหลัก และพิจารณาชื่อภาษาอังกฤษประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ชื่อภาพยนตร์จีนแนวสิ่งลี้ลับที่ฉายในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 – 2013 ไม่ปรากฏวิธีการแปลชื่อเรื่องแบบตรงตัว ใช้วิธีการแปลชื่อเรื่องโดยเลือกใช้คำบางส่วนจากภาษาจีนต้นฉบับและใช้คำใหม่อีกส่วนหนึ่ง จำนวน 9 เรื่อง คิดเป็น 14.28% แปลชื่อเรื่องโดยเลือกใช้คำบางส่วนจากชื่อแปลภาษาอังกฤษและใช้คำใหม่อีกส่วนหนึ่ง จำนวน 3 เรื่อง คิดเป็น 4.76% ส่วนภาพยนตร์ที่เหลือ จำนวน 51 เรื่อง ใช้วิธีการตั้งชื่อใหม่ คิดเป็น 80.95% จากจำนวนภาพยนตร์ทั้งหมด ประเด็นที่น่าสนใจคือ ภาพยนตร์หลายเรื่องเป็นภาคต่อกัน แต่ถูกแปลให้เหมือนไม่ใช่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ภาพยนตร์ชุด 开心鬼 หรือ Happy ghost และภาพยนตร์อีกหลายเรื่องไม่ใช่ภาคต่อกัน แต่กลับถูกแปลให้เชื่อมโยงเหมือนเป็นภาคต่อกัน เห็นได้อย่างชัดเจนจากกลุ่มภาพยนตร์ที่ปรากฏคำว่า ผีกัด และ กัด มีมากถึง 18 เรื่อง คิดเป็น 28.57% ของจำนวนภาพยนตร์ทั้งหมด และกลุ่มภาพยนตร์ที่ปรากฏคำว่า โปเย และ โปเยโปโลเย สรุปได้ว่า การแปลชื่อภาพยนตร์ควรใช้วิธีการแปลแบบเน้นความเข้าใจของผู้ชมในภาษาเป้าหมาย (Target Language - TL emphasis) ดังนั้น ผู้แปลจึงนิยมแปลโดยใช้วิธีการตั้งชื่อเรื่องใหม่และเลือกใช้คำที่อยู่ในกระแสนิยมหรือเป็นส่วนหนึ่งของชื่อภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จโด่งดัง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการกระทำการแปล และ การแปลโดยคำนึงถึง “หน้าที่” เป็นสำคัญ ของ Nord, C. (1989) เพื่อเหตุผลทางการตลาด
ปัญหาและกลวิธีการแปลฉลากสินค้าจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยของนิสิตวิชาเอกภาษาจีน
งานวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการแปลฉลากสินค้าจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยและกลวิธีการแปลฉลากสินค้าจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยของนิสิตข้อมูลที่ใช้ศึกษาคือคู่เทียบคําแปลฉลากสินค้าภาษาจีน กับ ภาษาไทยเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม ยาและเครื่องสําอาง เป็นหน่วยภาษาระดับคํา วลี ประโยคและข้อความจํานวน 438 รายการ ซึ่งรวบรวมจากผลงานแปลของนิสิตวิชาเอกภาษาจีน มหาวิทยาลัยบูรพา การวิเคราะห์ประมวลผลเป็นเชิงสถิติร้อยละ ผลวิจัยพบว่า ปัญหาการแปลฉลากสินค้ามี 3 ลักษณะได้แก่การใช้คํา ศัพท์ไม่เหมาะสมและผิดพลาด เนื่องจากไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะแปล การใช้ภาษาไม่เป็นธรรมชาติ เพราะไม่ขัดเกลาและไม่มีทักษะและเทคนิคการแปล ที่ดี และการใช้กลวิธีการแปลตรงตัวโดยไม่คํานึงถึงบริบทของภาษาปลายทาง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแปลฉลากสินค้าจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย มีดังนี้ การแปลฉลากควรคํานึงถึงพื้นที่บนฉลากและเป้าประสงค์ของการสื่อสารโดยใช้คําย่อที่เกี่ยวกับหน่วยบอกปริมาตรการใช้คําที่ผู้บริโภคคุ้นชินและสอดคล้องกับวัฒนธรรมการใช้ภาษาปลายทางโดย เน้นภาษาที่เข้าใจง่ายไม่เยิ่นเย้อ ภาษาสากลนิยม และทันสมัยเพื่อเป้าหมายเชิงพาณิชย์