การสอนภาษาจีน
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
ศึกษาสภาพแบบเรียนภาษาจีนระดับปฐมวัย กรณีศึกษา: หนังสือภาษาจีนปฐมวัย1a-3b
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแบบเรียน ความสอดคล้องของระบบคำศัพท์ และการลำดับความคิดในการจัดลำดับบท ของแบบเรียนภาษาจีนปฐมวัยของสำนักพิมพ์ทองเกษมจัดพิมพ์ปี พ.ศ. 2560 รวม 6 เล่มกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยเป็นแบบเรียนเพียงชุดเดียวในประเทศไทยที่ระบุใช้สำหรับการเรียนชั้นปฐมวัยโดยเฉพาะ โดยวิเคราะห์ด้านคำศัพท์ จำนวนคำศัพท์ เนื้อหาคำศัพท์ ชนิดคำศัพท์ และด้านหัวข้อลำดับบท ผลการศึกษาคือ แบบเรียนชุดนี้สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการต่อยอดไปเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ แต่ผู้วิจัยยังพบบางประเด็นในแบบเรียนที่ขาดหายไป และมีบางประเด็นที่ไม่สอดรับกับเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ด้านประเภทคำศัพท์ไม่พบคำกริยาวิเศษณ์ คำบุพบทและคำสันธาน และ ด้านการลำดับบท ไม่พบหัวข้อด้านข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาเอกสารการสอน อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับปฐมวัยให้สอดคล้องกับเกณฑ์มากขึ้นได้
ปัญหาและแนวทางการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้เสียงเอ๋อร์ท้ายพยางค์(儿化韵) ในภาษาจีน
นับแต่ประเทศจีนเข้าร่วมองค์กรการค้าโลก (WTO) ในปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา เศรษฐกิจการค้าของจีนถือว่าได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกอย่างเห็นได้เด่นชัดส่งผลให้ความต้องการในการเรียนภาษาจีนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้เรียนชาวไทย การที่คนไทยหันมาเรียนภาษาจีนมากขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้มีการสอนภาษาจีนในประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานแล้วก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนชาวไทยจะสามารถสื่อสารภาษาจีนได้ถูกต้องทั้งหมดซึ่งอาจเป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญหรือไม่เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร และหนึ่งในเรื่องที่มักถูกมองข้ามคือเสียงเอ๋อร์ท้ายพยางค์(儿化韵)เนื่องจากเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ทำให้ผู้เรียนมักจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้ในการสื่อสาร ซึ่งในบางสถานการณ์อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้เช่นกัน หลายปีมานี้ ผู้เรียนภาษาจีนชาวไทยจำนวนไม่น้อยต้องประสบกับปัญหาการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ นอกจากความยากในการออกเสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยแล้ว ยังมีหลักเกณฑ์การออกเสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเสียงค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ผู้เรียนออกเสียงผิด และก่อให้เกิดความสับสนในการใช้งาน ประกอบกับจำนวนคำศัพท์ที่ใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ที่มีจำนวนไม่ชัดเจน ตลอดจนตำราที่ใช้ในประเทศไทยก็ยังมีการเรียบเรียงในเรื่องนี้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จนกระทั่งเกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการของผู้ใช้งานชาวไทย เมื่อการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์มีความสำคัญต่อการสื่อสารเช่นนี้แล้ว การเรียนการสอนการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ที่ได้มาตรฐานและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ จะนำพาประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารในอนาคตอย่างไม่เกิดข้อผิดพลาด ฉะนั้น การใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์จึงเริ่มมีผู้ให้ความสนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น บทความชิ้นนี้จึงจะทำการวิเคราะห์สภาพการเรียนการสอนภาษาจีนปัจจุบันและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้เสียงเอ๋อร์ “er” ท้ายพยางค์ต่อผู้เรียนชาวไทย พร้อมกับเสนอแนวทางการเรียนการสอนดังกล่าว
รูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสำาหรับนักศึกษากลุ่มรายวิชาศึกษาทั่วไป: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับนักศึกษากลุ่มรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมสนทนากลุ่มเพื่อขอความเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนและอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาศึกษาทั่วไปของสาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปี พ.ศ.2564 จำนวน 15 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนชั่วโมงในการจัดการเรียนการสอนต่อสัปดาห์มีจำนวนน้อยเกินไป ทำให้ไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน 2) ความต้องการต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับนักศึกษากลุ่มรายวิชาศึกษาทั่วไป พบว่า ต้องการให้ผู้สอนเน้นทักษะการฟัง การพูด และการอ่านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในชีวิตประจ าวัน โดยไม่เน้นทักษะการเขียน เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ 3) รูปแบบและแนวทางที่เหมาะสม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ก่อนลงทะเบียนเรียน ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศหรือให้ข้อมูลผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการเตรียมตัวก่อนเรียนภาษาจีน ส่วนที่ 2ระหว่างเรียน เน้นจัดกิจกรรมเรียนรู้ภาษาจีนผ่านกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาได้เกิดการฝึกฝนและเรียนรู้จริงทั้งในและนอกชั้นเรียน ส่วนที่ 3 สิ้นสุดการเรียน จัดให้มีระบบการประเมินผลการเรียนรู้ภาษาจีนตามเนื้อหาในรายวิชา โดยเน้นให้เกิดทักษะการสื่อสารภาษาจีน เช่น การถาม -ตอบ การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่องสั้นผ่านคลิปวีดีโอ
ปัญหาการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทย
บทความนี้เป็นการอธิบายปัญหาของการเรียนการสอนอักษรจีนของคนไทย เพื่อเข้าใจถึงประเด็นปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนอักษรจีนและเสนอแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ปัญหาของการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทยมีปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนอักษรจีนมี 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ปัจจัยด้านผู้สอนและผู้เรียน ปัจจัยด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยด้านอักษรจีน ปัจจัยด้านผู้สอนคือผู้สอน ยังไม่ได้เน้นหนักหรือให้ความสำคัญของการให้เทคนิคในการจดจำอักษรจีน การกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถคิดเชื่อมโยงอักษรจีนกับอักษรภาพ ผู้สอนยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอักษรจีนไม่เพียงพอจึงไม่สามารถถ่ายทอดให้ผู้เรียนเข้าใจ ปัจจัยด้านผู้เรียน คือ ผู้เรียนแรกเริ่มมีทัศนคติเชิงลบต่ออักษรจีน กล่าวคือ อักษรจีนเรียนยาก อักษรจีนมีจำนวนมาก ไม่เข้าใจหลักวิธีในการจดจำต้องจดจำด้วยการท่องจำเป็นคำๆ เป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วยความไม่ใส่ใจและจริงจังในการเขียนอักษรจีน ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน คือ รูปแบบการการสอน ไม่น่าดึงดูดและน่าสนใจ ขาดการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนอักษรจีนที่หลากหลาย การสอนอักษรจีนที่ยังไม่เป็นระบบและต่อเนื่องเชื่อมโยงด้านอักษรจีน ได้แก่ ปริมาณที่มากของตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร ความคล้ายคลึงหรือความเหมือนของอักษรจีนและข้อด้อยอื่นๆของอักษรจีน แนวทางแก้ไขมีดังนี้ 1.ผู้สอนควรตระหนักถึงความสำคัญของการจดจำอักษรจีน โดยมีการสอนหลักการคำเช่น การเชื่อมโยงกับอักษรภาพ การสังเกตหลักการจำอักษรจีน ส่วนบอกความหมาย หมวดคำ ส่วนบอกเสียง การเพิ่มการอธิบายตัวอักษรจีน เป็นต้น 2.ผู้เรียนควรใส่ใจอย่างจริงจังในการเขียนอักษรจีน โดยพิจารณาและสังเกตรูปลักษณ์ จำนวนขีด ลักษณะของเส้นขีด ตำแหน่งของขีดที่แตกต่างกันและส่วนประกอบตัวอักษร การเข้าใจอักษรเดี่ยวและอักษรประสมแบบบอกรูปและเสียงซึ่งเป็นอักษรที่มีจำนวนมากที่สุดในภาษาจีน 3.การจัดกระบวนการเรียนการสอนอักษรจีนควรจัดลำดับการสอนและให้ความรู้ความเข้าใจอักษรจีนอย่างต่อเนื่อง การทบทวนสาระเกี่ยวกับอักษรจีนและสร้างแผนการเรียนรู้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกับสาระวิชาอื่นๆ การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนอักษรจีนที่น่าสนใจและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม การใช้หรือสร้างสื่อการเรียนการสอนอักษรจีนทางออนไลน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางหรือโอกาสการศึกษาอักษรจีนมากขึ้น
มโนทัศน์ทางวัฒนธรรมจีนในแบบเรียนวิชาภาษาจีนชุดภาษาจีนวันละนิด
แบบเรียน นอกจากมีหน้าที่ในการเป็นสื่อทางการศึกษาแล้ว ยังคงดำรงบทบาทเป็นเครื่องมือทางอำนาจในการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้มโนทัศน์บางประการแก่ผู้เรียนอีกด้วย บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมจีนที่ปรากฏในแบบเรียนวิชาภาษาจีนชุด ภาษาจีนวันละนิด และวิเคราะห์อำนาจของเนื้อหาและตัวบทในการกล่อมเกลามโนทัศน์ทางวัฒนธรรมจีนแก่ผู้เรียนชาวไทย ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนภาษาจีนชุดภาษาจีนวันละนิด ปรากฏมโนทัศน์ทางระเบียบวัฒนธรรมจีนกล่อมเกลาแก่ผู้เรียนชาวไทยใน 3 ประเด็น คือ วัฒนธรรมเชิงสัมฤทธิ์ผล วัฒนธรรมเชิงข้อมูล และวัฒนธรรมเชิงพฤติกรรม ทั้งนี้ ผลการศึกษายังสะท้อนให้เห็นว่า แบบเรียนไม่ได้เน้นให้เพียงความรู้ด้านทักษะทางภาษาจีนเท่านั้น หากแต่ยังแฝงไว้ซึ่งอำนาจละมุนในฐานะเจ้าของชุดความรู้ เพื่อหยิบยื่นมโนทัศน์การรับรู้ทางวัฒนธรรมจีนแก่ผู้เรียนชาวไทยอีกด้วย